Page 29 - รายงานผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้บริหารศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ๑๘ ภาคคณะสงฆ์ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓
P. 29
๒. ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เป็นศูนย์กลางศึกษาพระพุทธศาสนาของชุมชน
ความทันสมัยของโลกในยุคปัจจุบัน ทำให้พระคุณเจ้าจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเข้ามามีบทบาท
เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีงามให้เกิดขึ้นแก่เด็ก เยาวชนและประชาชน โดยเฉพาะการเข้าใจวิถีชีวิตไทย
อย่างถ่องแท้ ไม่ว่าจะเป็นความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา วัฒนธรรมประเพณี หรือความเป็นอยู่
ของประชาชน ซึ่งพระคุณเจ้าสามารถจะเป็นผู้นำทางด้านความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่ถูกต้องได้ ซึ่งก็คงจะ
เป็นการนำเอาสิ่งดีในอดีตพลิกฟื้นย้อนกลับสู่ปัจจุบัน ด้วยการนำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์
และปรับปรุงให้เกิดความเหมาะสมกับยุคสมัยมากยิ่งขึ้น ซึ่งได้พิสูจน์มาแล้ว โดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
คำสั่งสอนต่าง ๆ พุทธศาสนิกชนได้ถือปฏิบัติกันมาช้านาน พระคุณเจ้าจึงเป็นศูนย์รวมทางด้านศีลธรรม
ของประชาชน อบรมสั่งสอนประชาชน ให้มีความเข้าใจในพุทธธรรมและการประพฤติปฏิบัติเพื่อการ
ดำเนินชีวิตที่ถูกต้องและมีความสุข ซึ่งหากมองจากพื้นฐานอันเป็นแก่นแท้ของคำสอนทางพระพุทธ
ศาสนาแล้ว วิถีชีวิตของชาวพุทธ ก็คือวิถีชีวิตของผู้ต้องศึกษา ซึ่งพระคุณเจ้าได้นำหลัก “ไตรสิกขา”
และ “ธรรมศึกษาตรี โท เอก” มาเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนของเด็กและเยาวชนรวมทั้งประชาชน
๒.๑ ให้ศึกษาในเรื่องศีล อันได้แก่ เจตนาที่จะงดเว้น ไม่ละเมิดข้อห้ามด้านกาย ด้านวาจา
ให้รักษาความเป็นปกติของความเป็นมนุษย์ผู้ซึ่งมีใจสูง เป็นการพัฒนาในเรื่องของพฤติกรรม โดยเน้น
ส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้รู้จักกินอยู่อย่างพอดี อยู่ร่วมกันในสังคม โดยไม่เบียดเบียน รู้จักมีความสัมพันธ์
ที่ดีกับเพื่อนมนุษย์ รู้จักแบ่งปัน ช่วยเหลือเกื้อกูล ตามหลักของการให้ทาน ดำรงตนอยู่ในกรอบของศีล
ดำเนินชีวิตตามหลักของศีล รักษากติกาของสังคม กฎเกณฑ์หรือกฎหมาย ระเบียบแบบแผน หรือวินัย
แม่บทของชุมชน เรียนรู้จนมีความชำนาญที่จะปฏิบัติสัมมาอาชีพ
๒.๒ ให้ศึกษาในเรื่องของจิต เรียนรู้ให้เข้าใจธรรมชาติของจิต การทำงานของจิต รู้วิธีการ
พัฒนาจิต เพื่อให้สงบตั้งมั่น เป็นสมาธิพร้อมที่จะทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้มีคุณภาพจิตที่ดี
หล่อเลี้ยงจิตใจให้เจริญงอกงาม และเป็นพื้นฐานของพฤติกรรมที่ดีงาม กับทั้งฝึกจิตให้มีความเข้มแข็ง
มั่นคง เช่น มีฉันทะ ความใฝ่รู้ใฝ่ดี มีความเพียร ความขยัน ความอดทน มีความตั้งมั่นเป็นสมาธิ
ที่จะทำให้เกิดก้าวหน้ามั่นคงในพฤติกรรมที่ดีงาม
๒.๓ ให้ศึกษาในเรื่องของปัญญา ในการพัฒนาปัญญาจะมีการพัฒนาอยู่หลายระดับ
ที่สำคัญ คือ ปัญญาเข้าถึงความจริงแห่งธรรมดาของธรรมชาติและปัญญาที่สามารถใช้ความรู้นั้นจัดวาง
ระบบแบบแผนของการดำเนินชีวิต เช่น ความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่ได้ยินอย่างมีประสิทธิภาพ การรับรู้
ประสบการณ์และเรียนรู้สิ่งต่างๆ อย่างถูกต้องตามเป็นจริง การคิดวินิจฉัยอย่างมีวิจารณญาณ ด้วยการ
ใช้ปัญญาที่บริสุทธิ์ รู้จักมอง รู้จักคิด รู้จักจัดการนำไปสู่ความสัมฤทธิผลตามจุดมุ่งหมาย
รายงานผลการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้บริหารศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ๑๘ ภาคคณะสงฆ์