Page 25 - รายงานผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้บริหารศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ๑๘ ภาคคณะสงฆ์ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓
P. 25

บทบาทของคณะสงฆ์ในการส่งเสริมศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
                      ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์เริ่มกำเนิดขึ้นครั้งแรก ในประเทศไทยในนาม “โรงเรียน
             พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์” เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๖-๒๕๐๐ โดยพระพิมลธรรม (อาจ อาสภมหาเถร)

             สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง (สมัยพระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔) อธิบดีสงฆ์
             (เจ้าอาวาส) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เป็นการให้โอกาสแก่เด็กและเยาวชนได้ศึกษา และรู้จัก
             หลักธรรมในพระพุทธศาสนาได้ถูกต้องตามสมควรแก่วัยของตน  เพื่อสร้างเด็กให้เป็นกำลังสำคัญ
             ของพระพุทธศาสนาต่อไป และยังเป็นการส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา สนับสนุนให้วัดมีบทบาท

             ในการปฏิบัติภารกิจด้านการศึกษาสงเคราะห์กับทั้งเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง วัด บ้าน
             และโรงเรียน ให้มีความผูกพัน อันเป็นเอกลักษณ์ของวิถีไทย
                      ด้วยความเข้มแข็งของคณะสงฆ์ในทุกยุคทุกสมัย จึงทำให้โรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
             ได้ขยายตัวอย่างแพร่หลาย สามารถช่วยเหลือสังคมในด้านการศึกษาสงเคราะห์มาเป็นระยะเวลา

             อันยาวนาน เป็นเวลาถึง ๒๐ ปี ย่อมชี้ให้เห็นว่า คณะสงฆ์ไทย เป็นผู้เสียสละที่แท้จริง สมควรได้รับ
             การยกย่อง เชิดชูเกียรติในฐานะผู้บุกเบิกโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในประเทศไทย

             ภาคราชการสานต่อภารกิจโดยมีคณะสงฆ์เป็นแกนนำดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

                      กรมการศาสนาได้เห็นความสำคัญและให้การสนับสนุนโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
             เป็นครั้งแรก และได้มีการเปลี่ยนชื่อ “โรงเรียน” เป็น “ศูนย์ศึกษา” เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๓ เพื่อให้มี
             เอกลักษณ์เป็นการเฉพาะและสอดคล้องกับระเบียบของทางราชการ นับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา จึงใช้ชื่อ
             “ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์” จนถึงปัจจุบัน และใช้อักษรย่อว่า “ศพอ.” สำหรับการอุปถัมภ์

             กรมการศาสนาได้ออกระเบียบกรมการศาสนา ว่าด้วยศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
             พ.ศ. ๒๕๓๔ เป็นครั้งแรก และได้มีการปรับปรุงระเบียบฯ ดังกล่าว เป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๗
             และครั้งที่ ๒ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๐
                      อย่างไรก็ตาม แม้ว่ากรมการศาสนาจะมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงระเบียบในการบริหาร

             ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ไปหลายครั้ง ก็มิได้ทำให้การคณะสงฆ์ย่อท้อต่อการดำเนินงาน
             ที่ต้องยึดกฎระเบียบมากขึ้น กลับมีความเข้าใจ ยินดีและชื่นชมการพัฒนาของกรมการศาสนา และ
             มีพลังใจพลังกายที่มั่นคงและพร้อมที่จะเป็นแกนนำสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของศูนย์ศึกษา
             พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง เพียงเพื่อให้ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์

             เป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจของชุมชน ที่ก่อคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ กับทั้งเพื่อให้สามารถดำรงตน
             ในฐานะพระภิกษุ ผู้เป็นศาสนทายาทที่มีวัตรปฏิบัติในการรักษาพระสัทธรรม รักษาพิธีกรรม ศึกษา
             พระปริยัติธรรมและเผยแพร่หลักธรรมสู่เด็ก เยาวชนและประชาชน บทบาทดังกล่าวได้เป็นปัจจัยสำคัญ
             ที่ส่งเสริมให้พระพุทธศาสนามีความเจริญก้าวหน้าและมั่นคงยิ่งขึ้น









                               รายงานผลการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้บริหารศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ๑๘ ภาคคณะสงฆ์
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30