Page 28 - รายงานผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้บริหารศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ๑๘ ภาคคณะสงฆ์ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓
P. 28
ในชุมชนอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้พระคุณเจ้ายังมีความเข้าใจ ในฐานของการพัฒนาชุมชนว่า มีความ
ยุ่งยาก สลับซับซ้อน (Complexity) ในด้านของเงื่อนไข เหตุปัจจัย จึงมีการศึกษาเรียนรู้ให้เกิดความรู้
ความเข้าใจในเหตุปัจจัยและเงื่อนไขเพื่อให้รู้เท่าทันกระแสสังคม เพื่อจะได้ร่วมแก้ปัญหาของชุมชน
ได้อย่างถูกต้องและจริงจัง ตรงกับความต้องการของชุมชน และมีความต่อเนื่องอย่างเป็นระบบ
ซึ่งจะสามารถจัดการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ โดยมีการปรับเปลี่ยนศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ ให้มีบทบาทต่อการพัฒนาชุมชนที่ครอบคลุมการพัฒนาทุกมิติของชีวิต ทั้งนี้เพื่อให้เป็น
ประโยชน์ต่อสังคมอย่างแท้จริง ดังนี้
๑. ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์เป็น “แหล่งเรียนรู้ศีลธรรมของชุมชน” ดังนี้
๑.๑ ศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ของชุมชน ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ตลอดทุกช่วงวัย
ของชีวิต ให้เกิดการเรียนรู้คู่ความสุข (Learning and Happiness) เพื่อสร้างปัญญา ด้วยการเปิดสอน
ธรรมศึกษาตรี โท และเอก เปิดสอนวิชาสามัญและวิชาเสริมพิเศษเพื่อพัฒนาการเรียนและการอาชีพ
ของเด็ก เยาวชนและประชาชนในชุมชน ให้มีการประกอบสัมมาชีพยืนหยัดด้วยการพึ่งพาตนเอง และ
พึ่งพระสัจธรรม เชื่อมั่นในคุณธรรมของบรรพชนในชุมชน ยึดมั่นในศีลธรรมและคุณความดี รู้จักแสวงหา
ความรู้และทางออกในการแก้ไขปัญหาจากวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนให้รู้เท่าทันกระแสโลกาภิวัตน์
โดยจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ และห้องสมุดประจำศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
เนื่องจากความเป็นโลกาภิวัตน์ (Globalization) และการรับกระแสโลกาภิวัตน์ที่ขาดภูมิคุ้มกัน คือ
การขาดความรู้เท่าทันกับข่าวสารข้อมูล (Information) จะกลายเป็นการหลงข่าวสารข้อมูล ไม่ได้เสพ
ข่าวสารข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ แต่เสพเพื่อเพิ่มความหลงความมัวเมา จึงต้องมีการสร้างภูมิคุ้มกัน
ให้กับเด็ก เยาวชนและประชาชนในชุมชน
๑.๒ ศูนย์กลางการจัดกิจกรรมของชุมชน ใช้ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
เป็นสถานที่ในการประชุมเพื่อเตรียมงาน และเป็นสถานที่จัดกิจกรรมของชุมชน เช่น กิจกรรม
ทางพระพุทธศาสนา ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา คือ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา
วันเข้าพรรษาและวันสำคัญของชาติอื่น ๆ ฯลฯ
๑.๓ ศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของชุมชน ด้วยการส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม
และศิลปกรรมของท้องถิ่น ให้สมกับคุณค่าและมีการนำมาปรับใช้ให้เหมาะกับยุคสมัย รวมทั้ง
พลิกฟื้นวัฒนธรรมไทย ประเพณีและพิธีกรรมของท้องถิ่นและของชาติ ปลุกมโนธรรมสำนึกให้ภูมิใจใน
ภูมิปัญญาไทย ไม่ให้ถูกกลืนไปกับวัฒนธรรมบริโภคและทุนนิยมในระบบโลกาภิวัตน์ ที่หลงไปกับคุณค่า
เทียมตามค่านิยมที่ผิด ๆ อันเป็นค่านิยมที่ฟุ้งเฟ้อ ที่ไม่ใช่วิถีชีวิตของชาวไทย
๑.๔ ศูนย์กลางสื่อสารของชุมชน ใช้ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์เป็นสถานที่
เผยแพร่ข่าวสารของทางราชการ เป็นที่สื่อสารระหว่างประชาชนกับผู้นำชุมชน เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
นายก อ.บ.ต. นายก อ.บ.จ. ใช้ประชุมลูกบ้านเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวข่าวสารจากทางราชการ ให้ชาวบ้าน
ได้รับรู้ทั่วทั้งชุมชน
รายงานผลการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้บริหารศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ๑๘ ภาคคณะสงฆ์