Page 33 - รายงานผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้บริหารศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ๑๘ ภาคคณะสงฆ์ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓
P. 33
๒.๓ เน้นการเผยแผ่เนื้อหาสาระคำสอนของพระพุทธศาสนา ให้กระจายสู่ชุมชนโดยมี
ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์เป็นศูนย์การเรียนรู้เพื่อให้ประชาชนได้ ศึกษาและเข้าใจหลักธรรม
อย่างลึกซึ้ง โดยช่วยกันผลักดันให้ประชาชนนำคำสอนของพระพุทธศาสนา “ทางสายกลาง” และ
นำระบบคุณค่าของสังคมไทยในเรื่องจิตสาธารณะ ความเอื้ออาทรพึ่งพิงกัน ความไว้วางใจต่อกัน
ไปเป็นหลักในการดำเนินชีวิตประจำวัน ในทุกโอกาส เพื่อให้ทุกคนมีชีวิตที่ดีขึ้นและมีความสุขร่มเย็น
สามารถใช้พระศาสนาในการแก้ปัญหาสังคมและเศรษฐกิจ
๒.๔ เน้นรักษาวัฒนธรรมชุมชน อันเป็นรากฐานของสังคมไทย โดยชุมชนต้อง
“ช่วยสร้างสมดุลระหว่างความทันสมัยกับคุณค่าแบบไทย” ที่เน้นค่านิยมและจริยธรรมตาม
แนวพระพุทธศาสนา เช่น ความโอบอ้อมอารี ความซื่อสัตย์สุจริต การกินพอดีอยู่พอดีที่กลมกลืน
ไปกับธรรมชาติ ความปรองดองในการอยู่ร่วมกับเพื่อนมนุษย์ ความมีวินัยในตนเอง ความรับผิดชอบ
ความอดทน อดออม มุมานะ ทำงานด้วยขันติธรรม ยึดมั่นในหลักธรรม เพื่อให้ชุมชนไทยสามารถ
ดำรงอยู่ได้ในบริบทโลกอย่างสมศักดิ์ศรีและมีความก้าวหน้ามั่นคงอย่างยั่งยืน
๒.๕ จัดระบบการประสานงานแบบเครือข่าย โดยมีศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ เป็นแม่ข่ายในการประสานงานทั้งในด้านข้อมูล ข่าวสาร ด้านวิชาการ และการดำเนินงาน
ของเครือข่ายทั้งตำบล เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงทั้งระบบ
๒.๖ ยกระดับขีดความสามารถและมาตรฐานการทำงานของศูนย์ศึกษาพระพุทธ
ศาสนาวันอาทิตย์ให้มีคุณภาพอยู่ในระดับที่สูงขึ้นตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมการศาสนา โดยมี
การพัฒนาประสิทธิภาพอย่างสม่ำเสมอ และมีการคัดเลือกและมอบรางวัลให้แก่ศูนย์ฯ ตัวอย่าง
ระดับจังหวัดและระดับภาค เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแด่พระคุณเจ้าผู้อุทิศสรรพกำลังเพื่อพัฒนาศูนย์ฯ
๒.๗ มีระบบตรวจติดตามในระดับพื้นที่อย่างจริงจัง โดยให้พระสงฆ์ในศูนย์ฯ เป็นผู้
จัดทำแบบประเมินผู้เรียน ผู้ปกครอง (ผู้รับบริการ) และให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเป็นผู้จัดทำ
แบบประเมินผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รายงานผลการปฏิบัติงานของศูนย์ฯ นมัสการเจ้าคณะปกครองสงฆ์
ตามลำดับชั้นเพื่อทราบและขอรับความเมตตาในข้อแนะนำ เพื่อนำข้อเสนอแนะดังกล่าวมาพัฒนาศูนย์ฯ
ประโยชน์ที่ประชาชนได้รับจากศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
ประชาชน
๑. ประชาชนมีการพัฒนาคุณภาพชีวิต มีวินัยในการดำรงชีวิตที่ถูกต้อง จากการเรียนรู้
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ตลอดจนรู้เท่าทันกระแสโลก จากแหล่งสืบค้นความรู้ทางเทคโนโลยี
สารสนเทศ ขุมทรัพย์ทางปัญญาที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตที่ดีขึ้น
๒. ประชาชนมีที่พึ่งทางใจ จากการเรียนรู้ไตรสิกขา และหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
ช่วยเยียวยาจิตใจให้มั่นคงในอารมณ์ โดยมีพระภิกษุสงฆ์ผู้อยู่เคียงข้างกับประชาชน คอยให้กำลังใจ
คำปรึกษา แนะแนวทางในการดำเนินชีวิตที่ดีงามซึ่งจะทำให้เป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์และมีความสุขทางใจ
รายงานผลการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้บริหารศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ๑๘ ภาคคณะสงฆ์