Page 34 - รายงานผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้บริหารศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ๑๘ ภาคคณะสงฆ์ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓
P. 34
๓. ประชาชนมีความมั่นคงในชีวิต จากการเรียนรู้และฝึกอาชีพ ทำให้มีรายได้สำหรับ
ดำรงชีวิตตนเองและครอบครัว ยกระดับฐานะให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองได้
โดยมีศูนย์ฯ เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาอาชีพ ที่เกิดจากความร่วมมือสนับสนุน รวมพลังของคน
ในชุมชนเอง มีการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ฟื้นฟูการอาชีพพื้นบ้านของท้องถิ่นให้มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น
ส่งเสริมการรวมกลุ่มอาชีพตามความสนใจ อันเป็นปัจจัยที่ทำให้ประชาชนมีความมั่นคงในชีวิตและ
ชุมชนเข้มแข็ง
๔. ประชาชนมีความสมานสามัคคี จากการเข้าร่วมกิจกรรมในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ ที่มีการประสานความร่วมมือระหว่างวัด บ้าน และโรงเรียน อันจะเป็นแหล่งรวมคนในชุมชน
และเป็นแหล่งเรียนรู้ที่เกิดจากพื้นฐานของความร่วมมือของคนในชุมชนเองอย่างแท้จริง เนื่องจาก
ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เป็นของชุมชนที่จัดดำเนินการโดยชุมชนและเพื่อชุมชน ทำให้เกิด
ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประชาชนในทุกระดับ มีความสามัคคี ยึดมั่นในหลักธรรม และหลัก
ประชาธิปไตย
เด็กและเยาวชน
๑. เด็กและเยาวชน ได้รับการพัฒนาจิตและปัญญา โดยการปลูกฝังและพัฒนาคุณธรรม
จริยธรรม ตั้งแต่เยาว์วัย จากการเรียนรู้ในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาตามหลักสูตร “ธรรมศึกษา
ตรี-โท-เอก” ของกรมการศาสนา
๒. เด็ก และเยาวชน ได้รับการพัฒนาวิชาสามัญและวิชาเสริม ตามความสนใจ ให้มี
ความเข้าใจในวิชาสามัญตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการที่เรียนในโรงเรียนมากขึ้นจากการสอน
เสริม และมีความรู้และทักษะในวิชาตามความสนใจ
๓. เด็กและเยาวชน ได้รับการพัฒนาศักยภาพในการดำรงชีวิต รู้จักแสวงหาความรู้ด้วย
ตนเองตลอดชีวิต สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ รู้จักเคารพในสิทธิของผู้อื่น และยอมรับฟังความคิดเห็น
ของผู้อื่น มีเสรีภาพและความเป็นอิสระ ในการแสดงความคิดเห็น มีความเชื่อมั่นและความภูมิใจ
ในตนเอง
๔. เด็กและเยาวชน ได้รับสิทธิพิเศษ จากกระทรวงศึกษาธิการโดยให้ระบุการจบหลักสูตร
ธรรมศึกษาตามหลักสูตรของกรมการศาสนา ไว้ในหลักฐานการจบการศึกษาของผู้เรียนและได้มีคำสั่ง
ให้สถานศึกษาทุกแห่งพิจารณารับเด็กที่จบการศึกษาทางธรรม คือ “ธรรมศึกษา” ตรี โท เอก จาก
ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
รายงานผลการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้บริหารศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ๑๘ ภาคคณะสงฆ์