Page 18 - [E-Book] วันศาสนูปถัมภ์ พ.ศ. ๒๕๖๐
P. 18

พระพุทธศาสนา




                                มีประเพณีฉลองสงกรานต์ด้วยการท�าบุญ รดน�้าและสาดน�้าเพื่อแสดงความกตัญญู
                                และแสดงความปรารถนาดีต่อกัน นอกจากนี้ยังมีต�านานซึ่งอธิบายความเป็นมา

                                ของประเพณีสงกรานต์ ตลอดจนการท�านายเรื่องดินฟาอากาศ การผลิตพืชผล
                                และเหตุการณ์บ้านเมืองด้วย
                                         ประเพณีสงกรานต์เป็นการฉลองการขึ้นปีใหม่ตามสุริยคติแต่เนื่องจาก

                                ยังนิยมนับวันทางจันทรคติกันอยู่ ช่วงเวลาฉลองสงกรานต์ในแต่ละท้องถิ่น
                                จึงอาจไม่ตรงกันทีเดียว โดยปรกติอยู่ระหว่างวันที่ ๑๓-๑๕ เมษายน ในล้านนาบางปี

                                สงกรานต์อาจอยู่ในช่วงวันที่ ๑๔-๑๖ เมษายน ในภาคกลางนิยมท�าบุญตักบาตร
                                ในวันที่ ๑๓ เมษายน ถือเป็นวันมหาสงกรานต์คือเป็นวันที่พระอาทิตย์ก้าวเข้าสู่

                                ราศีเมษ เป็นวันสิ้นปีเก่า วันที่ ๑๔ เมษายน เป็นวันเนา คือวันที่เชื่อมต่อระหว่าง
                                ปีเก่ากับปีใหม่ และวันที่ ๑๕ เมษายน เป็นวันเถลิงศกขึ้นปีใหม่

                                         ประเพณีสงกรานต์ นอกจากเป็นประเพณีการขึ้นปีใหม่ของไทยแล้วยังพบว่า
                                ประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ลาว เมียนมา กัมพูชา ตลอดจนกลุ่มชนที่พูดภาษาตระกูลไท
                                หลายกลุ่มก็มีประเพณีสงกรานต์เป็นประเพณีการขึ้นปีใหม่ด้วย เช่น ไทลื้อ

                                ในเขตปกครองตนเองสิบสองพันนา และไทเหนือในเขตปกครองตนเองใต้คง
                                มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ไทขึนและไทใหญ่ในสหภาพพม่า ไทพ่าเก

                                ไทอ่ายตอน  และไทค�าตี่หรือไทค�าที่ในรัฐอัสสัม  และรัฐอรุณาจัลประเทศ
                                ประเทศอินเดีย น่าสังเกตว่า สังคมที่มีประเพณีสงกรานต์ล้วนเป็นสังคมที่นับถือ

                                พระพุทธศาสนาฝายเถรวาท
                                         พิธีสงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชน

                                บ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้ม
                                ที่จะเปลี่ยนทัศนคติ  และความเชื่อไป  ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็น
                                องค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น�้าเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของ

                                ฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น�้ารดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น
                                มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การร�าลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ในชีวิตสมัยใหม่

                                ของสังคมไทยเกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์  นับวันสงกรานต์
                                เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน�้าพระที่น�าสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้น

                                ปีใหม่ที่มีความสุข ปัจจุบันมีพัฒนาการและมีแนวโน้มว่าได้มีการเสริมจนคลาดเคลื่อน
                                บิดเบือนไป เกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น “Water Festival”

                                เป็นภาพของการใช้น�้าเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นน�้า






                                                                                                        11
                                                                                          วันศาสนูปถัมภ พ.ศ. ๒๕๖๐
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23