Page 20 - [E-Book] วันศาสนูปถัมภ์ พ.ศ. ๒๕๖๐
P. 20
พระพุทธศาสนา
๖. การลอยกระทง เพื่อบูชาท้าวพกพรหม บนสวรรค์ชั้นพรหมโลก
๗. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระอุปคุตตเถระ ซึ่งบ�าเพ็ญเพียร
บริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล
การลอยกระทงในปัจจุบัน ยังคงรักษารูปแบบเดิมเอาไว้ได้ตามสมควร เมื่อ
ถึงวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวงในเดือน ๑๒ ชาวบ้านจะจัดเตรียมท�ากระทงจากวัสดุที่
หาง่ายตามธรรมชาติ เช่น หยวกกล้วยและดอกบัว น�ามาประดิษฐ์เป็นกระทงสวยงาม
ปักธูปเทียนและดอกไม้เครื่องสักการบูชา ก่อนท�าการลอยในแม่น�้าก็จะอธิษฐานในสิ่ง
ที่มุ่งหวัง พร้อมขอขมาต่อพระแม่คงคาตามคุ้มวัดหรือสถานที่จัดงานหลายแห่ง มีการ
ประกวดกระทง ประกวดนางนพมาศ และมีมหรสพสมโภชในตอนกลางคืน นอกจาก
นั้นยังมีการจุดดอกไม้ไฟ พลุ ตะไล ซึ่งในการเล่นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ วัสดุที่น�า
มาใช้ท�ากระทง ควรเป็นของที่สามารถย่อยสลายได้ง่ายตามธรรมชาติ
เหตุผลของการลอยกระทงในประเทศไทยดังนี้
๑. เพื่อขอขมาแม่คงคา เพราะได้อาศัยกินและใช้ และอีกประการหนึ่ง
มนุษย์มักจะทิ้งและถ่ายสิ่งปฏิกูลลงไปในน�้าด้วย
๒. เพื่อสักการะรอยพระพุทธบาท ณ นัมมทานที ซึ่งประพุทธเจ้าทรงประทับ
รอยพระบาทประดิษฐานไว้บนหาดทรายที่แม่น�้านัมมทานที ในประเทศอินเดีย
๓. เพื่อลอยทุกข์โศกโรคภัย และสิ่งไม่ดี คล้ายกับพิธีลอยบาปของพราหมณ์
๔. เพื่อบูชาพระอุปคุต ชาวไทยภาคเหนือให้ความเคารพแกพระอุปคุต
อย่างสูง ซึ่งตามต�านานเล่าว่าเป็นพระมหาเถระรูปหนึ่งที่มีอิทธิฤทธิ์มากสามารถ
ปราบพญามารได้ การลอยกระทงไม่มีพิธีรีตอง เพียงแต่ขอให้มีกระทงจะท�าด้วย
อะไรก็ได้ เช่น ใบตอง การกล้วย กาบพลับพลึง เปลือกมะพร้าว กระดาษ จุดธูปเทียน
ปักที่กระทงแล้วอธิษฐานตามที่ตนปรารถนา เสร็จแล้วจึงลอยไปที่แม่น�าล�าคลอง
13
วันศาสนูปถัมภ พ.ศ. ๒๕๖๐