Page 14 - [E-Book] วันศาสนูปถัมภ์ พ.ศ. ๒๕๖๐
P. 14
พระพุทธศาสนา
ตอนสามว่า “การไม่กล่าวร้าย ๑ การไม่ท�าร้าย ๑ ความส�ารวม
ในพระปาติโมกข์ ๑ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร ๑ ที่นอนที่นั่งอันสงัด ๑
การประกอบความเพียรในอธิจิต ๑ นี่คือค�าสั่งสอนของท่านผู้ตรัสรู้แล้วทั้งหลาย”
เพื่อเป็นหลักความประพฤติและการปฏิบัติตน หรือหลักปฏิบัติในการท�างาน
ส�าหรับผู้ที่จะไปประกาศพระศาสนาว่า ผู้สอนต้องเป็นผู้ไม่กล่าวร้าย ฯลฯ จนถึง
ต้องมีใจแน่วแน่เข้มแข็ง ฝกอบรมจิตใจอยู่เสมอ สรุปว่า ไปท�างานก็ให้ไปท�างานจริงๆ
ท�างานเพื่องาน มุ่งประโยชน์สุขของประชาชนเป็นส�าคัญ ไม่ใช่ไปหาความสุข
สนุกสบาย
การบ�าเพ็ญกุศลที่พุทธศาสนิกชนนิยมประพฤติปฏิบัติ เนื่องใน
วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา และวันมาฆบูชา คือ
๑. การให้ทาน คือ การถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุ สามเณร การบริจาค
ทรัพย์ช่วยผู้ยากไร้ ฯลฯ
๒. การรักษาศีล คือ การส�ารวม ระวังกายและวาจา ด้วยการรักษาศีล ๕
หรือศีล ๘
๓. การฟังพระธรรมเทศนาและการบรรยายธรรม
๔. การเจริญภาวนา คือ การบ�าเพ็ญภาวนาด้วยการไหว้พระสวดมนต์
ปฏิบัติสมาธิและวิปัสสนา
๕. การเวียนเทียน พุทธศาสนิกชนจะแต่งกายให้สุภาพ เพื่อเป็นการบูชา
พระรัตนตรัย และประนมมือ ถือดอกไม้ธูปเทียน โดยเดินเวียนรอบพระอุโบสถ
หรือรอบพระบรมสารีริกธาตุไปทางขวามือของตนจนครบ ๓ รอบ ในแต่ละรอบ
ให้ระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ ตามล�าดับ
วันอัฏฐมีบูชา
วันอัฏฐมีบูชา เป็นวันถวายพระเพลิงพระสรีระของพระพุทธเจ้า
ที่เมืองกุสินารา ซึ่งตรงกับวันแรม ๘ ค�่า เดือน ๖ คือ หลังจากพระพุทธองค์ปรินิพพาน
ได้ ๗ วัน ส�าหรับกิจกรรมที่ชาวพุทธควรปฏิบัติในวันนี้คือ ท�าบุญตักบาตร รักษาศีล
ฟังธรรม เวียนเทียน เพื่อเป็นพุทธบูชา หลักธรรมที่เกี่ยวข้องในวันนี้ คือ
หลักไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง-ความไม่เที่ยง ไม่คงที่ ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและ
สลายไป ทุกขัง-ความเป็นทุกข์ ภาวะบีบคั้นที่ถูกบังคับด้วยการเกิดขึ้นแล้วสลายไป
เพราะปัจจัยปรุงแต่ง อนัตตา-สภาวะความไม่มีตัวตนที่เที่ยงแท้แน่นอน
7
วันศาสนูปถัมภ พ.ศ. ๒๕๖๐