Page 24 - คู่มือการขับเคลื่อน แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๙ - ๒๕๖๔)
P. 24
กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม
www.dra.go.th
๓.๒ องค์ประกอบของชุมชนคุณธรรม
โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้
๑. การสร้างการรับรู้ให้กับทุกภาคส่วนในชุมชน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาสังคม โดยมีการ
ประชุมพบปะพูดคุยสร้างการรับรู้ เพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาของชุมชน
๒. การจัดกิจกรรมตามข้อปฏิบัติหลักของชุมชนคุณธรรม ๓ ประการ ซึ่งเป็นจิตสำนึกที่ระเบิดจาก
ข้างในของคนในชุมชนเองซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีข้อปฏิบัติหลัก ๓ ประการ ดังนี้
๑.๑) ความศรัทธายึดมั่นในหลักธรรมทางศาสนาที่ตนนับถือ เป็นความดีที่พึงกระทำเพื่อประโยชน์
สุขของส่วนรวมและผู้อื่น โดยเน้นคุณธรรม พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา
๑.๒) การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ เป็นการสอนให้รู้จักการวางแผน
ชีวิตที่ถูกต้อง มีความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน พึ่งพาตนเองได้
๑.๓) การรักษาสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน ซึ่งมีคุณค่าที่บ่งบอกถึง
วัฒนธรรมอันดีงามที่ต้องรักษาไว้เพื่ออนุชนรุ่นหลัง เป็นการมองสู่อนาคตอย่างยั่งยืน
๓. การนำทุนทางวัฒนธรรมมาสร้างอาชีพและรายได้ ทำให้คนในชุมชนมีความสุข การนำทุนทาง
วัฒนธรรม จากการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญามาสร้างงานสร้างอาชีพ
๔. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนในชุมชนในทางที่ดีขึ้น ๓ ด้าน ได้แก่ ด้านศาสนามีการปฏิบัติตน
ตามหลักธรรมคำสอนของแต่ละศาสนา ด้านการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติและด้านการ
รักษาสืบสานวิถีวัฒนธรรม ทำให้คนในชุมชนเป็นคนดีมีคุณธรรมไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข มีอาชีพและรายได้
๕. การพัฒนาให้เป็นชุมชนคุณธรรมต้นแบบ ที่มีความสามัคคียอมรับและปฏิบัติตามข้อตกลงของ
ชุมชน เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนอื่น
๑๘ คู่มือการขับเคลื่อนแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๙ - ๒๕๖๔)