Page 23 - คู่มือการขับเคลื่อน แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๙ - ๒๕๖๔)
P. 23
Department Of Religious Affairs
ขั้นตอนการดำเนินงานเพื่อเสริมสร้าง “ชุมชนคุณธรรม ขั้นตอนการดำเนินงานเพื่อเสริมสร้าง
ต้นแบบ” ที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยมีบ้าน/วัด/ศาสนสถาน “ชุมชนคุณธรรมต้นแบบ”
โรงเรียน/ราชการหรือภาคประชารัฐร่วมกันดำเนินการ ดังนี้
(๑) ให้ทุกชุมชน สำรวจ ค้นหาอัตลักษณ์ของตนเองที่
โดนเด่น ที่จะนำมาอนุรักษ์สืบสานให้ดำรงอยู่เป็นอัตลักษณ์ที่มี
คุณค่าอันเกี่ยวเนื่องกับหลักธรรมทางศาสนา หลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง และวิถีวัฒนธรรม โดยจัดทำเป็นแผนส่งเสริม
พัฒนาชุมชนคุณธรรม
(๒) ให้ทุกชุมชน เห็นความสำคัญและประสานความ
ร่วมมือใน ๓ ประสาน คือ “บวร” บ้าน วัด/ศาสนสถาน โรงเรียน/
ราชการ โดยมีวัด/ศาสนสถาน เป็นศูนย์รวมจิตใจและเป็นศูนย์กลาง
ในการจัดกิจกรรมของชุมชน
(๓) ใช้ทฤษฎีการระเบิดจากข้างในชุมชน โดยให้คนใน
ชุมชนมีความสมัครใจ และเข้าใจแก่นแท้ของการพัฒนาชุมชน
ภายใต้วิถีถิ่น วิถีไทย เพื่อสร้างชุมชนให้เข้มแข็งด้วยหลักธรรมทาง
ศาสนา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและวิถีวัฒนธรรมที่ดีงาม
(๔) สนับสนุนให้มีการขับเคลื่อนงานของชุมชนโดยใช้
หลักการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในพื้นที่ ในลักษณะที่ให้
“ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับประโยชน์” อย่างเป็นระบบและให้ทุกภาคส่วน
บูรณาการความร่วมมือ
(๕) ให้ชุมชนคุณธรรมนำทุนทางวัฒนธรรม
ความหลากหลายทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
มาเสริมสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้แก่ชุมชน
(๖) ใช้กระบวนการคุ้มบ้านในการพัฒนาให้เข้าถึงและ
ใกล้ชิดชาวบ้าน เพื่อให้การพัฒนาชุมชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
และส่งผลต่อการพัฒนาจิตใจของคนในชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง
อย่างยั่งยืน
(๗) มีการขยายภาคีเครือข่าย โดยใช้หลักการชุมชนแบบ
เครือญาติ และสร้างชุมชนคุณธรรมต้นแบบ (Best Practice)
ให้การยกย่องเชิดชู พัฒนายกระดับให้เป็นตัวอย่างเพื่อเป็นแหล่ง
เรียนรู้ในพื้นที่
คู่มือการขับเคลื่อนแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ๑๗
ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๙ - ๒๕๖๔)