Page 15 - คู่มือการขับเคลื่อน แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๙ - ๒๕๖๔)
P. 15

Department Of Religious Affairs


                  ๑.๔ หลักการในการขับเคลื่อนแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ



                       หลักการพื้นฐานเพื่อการขับเคลื่อนแผนแม่บท         ชุมชนภาคกลาง

              ส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๕๖๔)
              สู่การปฏิบัติ จำเป็นต้องดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อสร้าง
              การยอมรับและการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมคุณธรรมอย่าง

              กว้างขวางมุ่งให้เกิดกระบวนการบูรณาการเชื่อมโยง
              แผนแม่บทฯ  ทั้งฉบับกับทุกภาคส่วนของสังคมพร้อมทั้ง

              ผลักดันให้คนไทยทุกภาคส่วนร่วมเสริมสร้างคุณธรรมทุกบริบท
              ของสังคม ดังนี้
                       ๑.๔.๑ ขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรมในทุกระดับ     ชุมชนภาคเหนือ

              โดยยึดแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ  ฉบับที่  ๑
              (พ.ศ. ๒๕๕๙  – ๒๕๖๔)  เป็นกรอบทิศทางในการปฏิบัติ

              ในระดับต่างๆ
                       ๑.๔.๒ กระจายการส่งเสริมคุณธรรมลงสู่พื้นที่ โดย
              ยึดหลักพัฒนาพื้นที่ตามภารกิจและการมีส่วนร่วม ให้กระทรวง

              และจังหวัดเป็นพื้นที่ในการขับเคลื่อนเชื่อมโยงจากระดับ
              ประเทศสู่ระดับพื้นที่ชุมชน

                       ๑.๔.๓ ใช้องค์ความรู้และกลไกภาคีเครือข่ายเป็น     ชุมชนภาคอีสาน
              เครื่องมือในการขับเคลื่อนงานในทุกระดับจนถึงระดับพื้นที่
              ชุมชนท้องถิ่น

                       ๑.๔.๔ ให้ความสำคัญกับการสร้างสังคมคุณธรรม
              เป็นเป้าหมายหลัก โดยยึดถือตามข้อปฏิบัติหลัก ๓ ประการ

              เป็นตัวชี้วัดผลสำเร็จ ได้แก่
                              (๑) การยึดและปฏิบัติตามหลักธรรมทาง
              ศาสนาของแต่ละศาสนา โดยนำหลักธรรมทางศาสนาเกี่ยวกับ

              การสอนให้เป็นคนมีความพอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา
              มาบูรณาการกับการดำเนินชีวิต  เพื่อเป็นแนวทางในการ          ชุมชนภาคใต้

              ประพฤติปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องตามหลักธรรมของแต่ละ
              ศาสนา ซึ่งมุ่งสอนให้ศาสนิกชนกระทำแต่ความดีและพึงละเว้น
              การกระทำความชั่วเพื่อให้เป็นคน “คิดดี พูดดี ทำดี” จนเป็น

              ธรรมชาติหรือลักษณะนิสัยก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมและ
              สังคม อันเป็นคุณลักษณะของความเป็น “คุณธรรมสากล” ซึ่ง

              ทุกศาสนาล้วนสอนให้ทุกคนเป็น “คนดี” ทั้งสิ้น





                                                                     คู่มือการขับเคลื่อนแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ   ๙
                                                                                  ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๙ - ๒๕๖๔)
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20