Page 11 - คู่มือการขับเคลื่อน แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๙ - ๒๕๖๔)
P. 11

Department Of Religious Affairs

                       ดังนั้น เพื่อสนองนโยบายรัฐบาลดังกล่าว จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เกิด “แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่ง

              ชาติ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๕๖๔)” ฉบับนี้ขึ้น
                       แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๕๖๔) นี้ ดำเนินการโดยคณะ
              กรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ซึ่งมีนายสุวพันธ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ได้รับ

              มอบหมายจากนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม
              ๒๕๕๙ และได้ผ่านการประชาพิจารณ์จากภาคส่วนต่างๆ ใน ๔ ภาคทั่วประเทศแล้ว






























                       แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ.๒๕๕๙ - ๒๕๖๔) ประกอบด้วย ๔ ยุทธศาสตร์
              ได้แก่ ๑)วางระบบรากฐานการเสริมสร้างคุณธรรมในสังคมไทย ๒)สร้างความเข้มแข็งในระบบการบริหาร

              จัดการด้านการส่งเสริมคุณธรรมให้เป็นเอกภาพ ๓) สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการส่งเสริมคุณธรรม และ
              ๔)ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นแบบอย่างด้านคุณธรรมในประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก เพื่อให้เป็นกลไก

              สำคัญของรัฐในการแก้ไขปัญหาวิกฤตคุณธรรมของคนในชาติ สร้างความสมดุลทั้งทางวัตถุและจิตใจ ให้ประเทศ
              ชาติและประชาชนมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมนำไปปฏิบัติและรายงานผลต่อ
              คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติเพื่อรายงานต่อคณะรัฐมนตรีตามลำดับ อีกทั้งให้สำนักงบประมาณใช้เป็น

              แนวทางในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณประจำปีของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                       คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติได้จัดทำ “คู่มือการขับเคลื่อนแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรม

              แห่งชาติ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๕๖๔)” ฉบับนี้ขึ้น เพื่อขับเคลื่อนแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ
              ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๕๖๔) ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ทุกภาคส่วนใช้เป็นกรอบในการส่งเสริม
              คุณธรรมของหน่วยงาน และเพื่อบูรณาการในการส่งเสริมคุณธรรมในสังคมไทย โดยมีทุกภาคส่วนของสังคม

              ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการให้แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติฉบับนี้
              สัมฤทธิผลตามนโยบายของรัฐบาล

                       ในเบื้องต้นนี้ เพื่อให้การขับเคลื่อนแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ สามารถบรรลุผล
              อย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ภายใต้ภารกิจที่เร่งด่วนนี้ จึงได้กำหนดคุณธรรมที่พึงประสงค์สำหรับสังคมไทยเพื่อ
              นำสู่ความเป็น “มนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ” ๔ ประการ คือ “พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา” โดยมีความหมาย ดังนี้




                                                                     คู่มือการขับเคลื่อนแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ   ๕
                                                                                  ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๙ - ๒๕๖๔)
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16