Page 13 - คู่มือการขับเคลื่อน แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๙ - ๒๕๖๔)
P. 13

Department Of Religious Affairs


                  ๑.๒ เป้าหมายของแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ

                                                             ๑.๒.๑  ประชาชนมีพฤติกรรมที่ถูกต้องดีงามด้วย

                                                    หลักธรรมทางศาสนา มีความมั่งคั่งยั่งยืนด้วยหลักปรัชญาของ
                                                    เศรษฐกิจพอเพียงและวิถีวัฒนธรรมอันดีงาม
                                                             ๑.๒.๒ สังคมเป็นสังคมคุณธรรมที่ยึดมั่นในสถาบันชาติ

                                                    ศาสนา  และพระมหากษัตริย์  มีความเอื้ออาทร  และแบ่งปัน
                                                    ซึ่งประกอบด้วยคนมีคุณธรรม องค์กรคุณธรรม หน่วยงานคุณธรรม
                                                    และชุมชนคุณธรรม

                       ๑.๒.๓ ประเทศชาติมีความสงบสุข สมานฉันท์ มั่นคงด้วยมิติทางศาสนาอย่างยั่งยืน เป็นแบบอย่างใน
              การส่งเสริมคุณธรรมในประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก



                  ๑.๓ ตัวชี้วัดผลสำเร็จของแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ


                       แบ่งเป็น ๒ ระยะ ได้แก่ ตัวชี้วัดระยะสั้น
                                                            “ขอเน้นย้ำถึงหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
              และตัวชี้วัดระยะปานกลาง ดังนี้                   ตลอดจนการใช้ชีวิตบนความพอประมาณ
                       ๑.๓.๑ ตัวชี้วัดระยะสั้น ระยะเวลา ๑ ปี    ด้วยหลักเหตุผลของแต่ละบุคคล
                                                                ที่แตกต่างตามสถานะ อย่างมีคุณธรรม
              ๖ เดือน (เดือนเมษายน ๒๕๕๙ – เดือนกันยายน          สอดคล้องกับเป้าหมายการแก้ปัญหา
              ๒๕๖๐)                                            ความยากจน และปราศจากความหิวโหย”
                       เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล

              พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จึงได้
              กำหนดตัวชี้วัดของแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรม                                        พลเอก ประยุทธ์ จัทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
              แห่งชาติ ในระยะสั้น มีกรอบระยะเวลา ๑ ปี ๖ เดือน                                 ผู้ทรงคุณวุฒิระดับสูงของกลุ่มประเทศ ๗๗
                                                                                                   กล่าวสุนทรพจน์เปิดการประชุม
               โดยมีตัวชี้วัด ดังนี้                                                                     ๙ มีนาคม ๒๕๕๙
                       (๑) ทุกหน่วยงานมีแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมของหน่วยงาน
                       (๒) ทุกหน่วยงานมีแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรมของหน่วยงาน

                       (๓) ทุกหน่วยงาน/องค์กรภาคีเครือข่ายส่งเสริมคุณธรรมมีความรู้ความเข้าใจในแผนแม่บทส่งเสริม
              คุณธรรมแห่งชาติ
                       (๔) มีหน่วยงานและบุคลากรในภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคชุมชน ภาคธุรกิจ
              เอกชน ภาควิชาชีพ ภาควิชาการ ภาคสื่อมวลชน และภาคประชาชน ให้ความสำคัญและได้รับการอบรมและ

              พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมเพิ่มมากขึ้นร้อยละ ๑๐ ของไตรมาสที่ ๒ ของปี ๒๕๖๐ (ตุลาคม ๒๕๕๙ – มีนาคม ๒๕๖๐)
              โดยเฉพาะการสร้างมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งจะต้องเน้นการพัฒนาบุคลากรของรัฐเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี

              สำหรับประชาชนทั่วไป
                       (๕) มีหน่วยงาน องค์กรที่ส่งเสริมและกระตุ้นการจัดกิจกรรมการเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา และ
              พระมหากษัตริย์ และมีประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ เพิ่มมากขึ้น
              ร้อยละ ๑๐ ของไตรมาสที่ ๒ ของปี ๒๕๖๐ (ตุลาคม ๒๕๕๙ – มีนาคม ๒๕๖๐)

                       (๖) เกิดชุมชนคุณธรรม องค์กรคุณธรรม หรือหน่วยงานคุณธรรม จำนวน ๗,๐๐๐ องค์กรต้นแบบ



                                                                     คู่มือการขับเคลื่อนแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ   ๗
                                                                                  ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๙ - ๒๕๖๔)
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18