Page 10 - คู่มือการขับเคลื่อน แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๙ - ๒๕๖๔)
P. 10

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

            www.dra.go.th



































                       ๒) การมีหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีวิตให้มีคุณภาพ คือ สอนให้รู้จักวางแผน
              ชีวิตที่ถูกต้อง มีความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน คือ รู้จักป้องกันเหตุอันไม่พึงประสงค์ที่จะเกิดขึ้น มีความรู้
              ควบคู่คุณธรรม ซึ่งปรัชญานี้สอดคล้องกับหลักสัปปุริสธรรม ๗ ประการของพระพุทธศาสนา คือ รู้จักเหตุ-รู้จักผล
              รู้จักตน-รู้จักประมาณรู้พอเพียง-รู้จักกาล-รู้จักชุมชน-รู้จักบุคคล และศาสนาอิสลามสอนให้ดำเนินชีวิตแบบ
              พอเพียง รู้จักให้ ไม่โลภ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ฟุ่มเฟือยหรือฟุ้งเฟ้อ มีความพอดีกับชีวิต มีจิตใจโอบอ้อมอารีรู้จัก
              เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่น ศาสนาคริสต์สอนให้มีความพอเพียง รู้จักยับยั้งความต้องการไว้ภายในขอบเขตที่
              เหมาะสม ทำให้เกิดความพอดี พอประมาณ ตลอดจนมีความรักในเพื่อนมนุษย์รู้จักการให้และการแบ่งปัน

              เป็นสังคมแห่งทางสายกลางที่แบ่งปันกัน ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูสอนให้ดำเนินชีวิตอย่างสันโดษ เรียบง่าย ช่วย
              เหลือผู้อื่น โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน และศาสนาซิกข์สอนปฏิบัติตามสัจธรรมในพระมหาคัมภีร์ศรีคุรุครันถ์ซาฮิบ
              โดยประกอบสัมมาอาชีพโดยสุจริต ไม่เอาเปรียบผู้อื่น มีความพอเพียง รู้จักพอ ประหยัดเก็บออม รักสันโดษ
              ไม่โลภ รับใช้บริการสังคมและให้เพื่อนมนุษย์ด้วยกาย วาจาและทรัพย์โดยไม่หวังผลตอบแทน





















                       ๓) การรักษาสืบสานวัฒนธรรมอันดีงาม ซึ่งเป็นสิ่งที่มีมาคู่กับสังคมไทย เป็นความภาคภูมิใจใน
              เอกลักษณ์ความเป็นไทย แสดงถึงเกียรติภูมิ ศักดิ์ศรีของคนไทย ที่ปลูกฝังมาอย่างยาวนานทำให้คนไทยมีจิตสำนึก
              ที่ดีงาม มีความรับผิดชอบ รู้จักรักษาระเบียบวินัย รู้จักพัฒนาตนเอง มีความเอื้ออาทร รู้รักสามัคคี มีความรักใน
              สถาบันของชาติคือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์


           ๔    คู่มือการขับเคลื่อนแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ
                ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๙ - ๒๕๖๔)
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15