Page 124 - รายงานผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้บริหารศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ๑๘ ภาคคณะสงฆ์ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓
P. 124

ความพอดี ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า “มัชฌิมาปฏิปทา” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดำริ
           มาประพฤติ ดำรงตนตามทำนองครองธรรม ตามหลักพระพุทธศาสนา รู้จักความพอดี

                    การสร้างมาตรฐาน คือ การเป็นพหุภาคีเครือข่าย การสร้างเครือข่าย จากวัดหนึ่งไปวัดหนึ่ง
           จากตำบลหนึ่งไปตำบลหนึ่ง จากจังหวัดหนึ่งไปจังหวัดหนึ่ง เพื่อเสริมสร้างวิชาความรู้ แลกเปลี่ยน
           ประสบการณ์ แนวทางการดำเนินงาน หรืออาจสร้างระหว่างผู้ปกครองกับเด็ก ชุมชนกับเด็ก ซึ่งทำให้
           การทำงานเป็นเชิงรุก เชิงรับ เป็นรูปธรรมมากขึ้น

                    อีกประการหนึ่ง คือ แนวคิดการสืบทอดประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณี
           ในท้องถิ่น ตามที่อธิบดีกรมการศาสนาได้กล่าวรายงานแล้ว อาทิ ประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น ในชุมชน
           ในอำเภอ ในจังหวัด เพราะแต่ละท้องถิ่น ก็มีประวัติความเป็นมา ในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน
           ก็เป็นเมืองเก่าแก่ที่สำคัญ แค่หมู่บ้าน แค่ชุมชน แค่อำเภอ และจังหวัด ก็มีประวัติศาสตร์มากมาย

           วัดวาอารามก็มีประวัติศาสตร์มากมาย โดยเฉพาะเมืองล้านนาของเมืองเหนือซึ่งอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่
           แม้แต่กรุงศรีอยุธยาก็มีประวัติความเป็นมา  รวมถึงภูมิสถาน  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  โบราณสถาน
           โบราณวัตถุ ศาสนสถานและศาสนศิลป์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น
                    ดังนั้น วัดป่าแดงมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ ได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของศูนย์ศึกษา

           พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ดังนี้
                    ๑. วัตถุประสงค์ คือ การสร้างศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ประเพณีในท้องถิ่น
                    ๒. เป้าหมาย คือ เด็ก เยาวชน และประชาชนในท้องถิ่น
                    ๓. ผู้บริหารศูนย์ฯ คือ ครู อาจารย์ ที่อบรมสั่งสอนเด็ก เยาวชน ต้องมีความรู้ ความสามารถ

           ที่จะถ่ายทอดทั้งวิชาความรู้ ทั้งด้านวิชาการ หลักธรรม คุณธรรม และพลเมืองที่ดีของสังคม
                    ๔. สถานที่ คือ ห้องเรียน สื่ออุปกรณ์การสอน ฯลฯ
                    ๕. หลักการบริหารจัดการศูนย์ฯ คือ บ้าน วัด ราชการ โรงเรียน (บ ว ร) เป็นหลักทาง
           พระพุทธศาสนา

           
        ว วัด มีพระภิกษุ สามเณรที่มีคุณภาพ มีคณะกรรมการวัด และรวมไปถึงคณะสงฆ์ตำบล
           ที่ได้รับการอบรมการสอน การเขียนแผนการสอน เทคนิคการสอน และวัดยังมอบกองทุนประวัติศาสตร์
           พระเจ้าติโลกราช ซึ่งมอบมาแล้ว ๗ ปี และมอบทุนการศึกษาทุก ๆ ปี
           
        บ บ้าน มีผู้นำชุมชน คณะกรรมการหมู่บ้าน คณะกรรมการชุมชน ประชาชนในชุมชน

           เรียกว่า ทุนทางสังคม คือ กลุ่มต่าง ๆ ในชุมชนจะมีคุณค่ามหาศาล มีศักยภาพ เป็นพหุภาคีเครือข่าย
           ที่สำคัญ ที่ช่วยผลักดันให้แต่ละศูนย์ แต่ละวัด แต่ละตำบล แต่ละเขตนั้น ให้มีมาตรฐานที่ใกล้เคียงกัน
           และครูบาอาจารย์ในท้องถิ่นภูมิ ปัญญาท้องถิ่นก็สามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่เด็กได้














                             รายงานผลการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้บริหารศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ๑๘ ภาคคณะสงฆ์
                                                   0
   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129