Page 38 - ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา พ.ศ. ๒๕๖๖
P. 38

รางวัลเสาเสมาธรรมจักร
                                                                                        ๒๕๖๖



                                   ขอกําหนดเฉพาะของผูทําคุณประโยชน


                  ๑. ประเภทสงเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนา มี ๔ สาขา
                         ๑.๑ สาขาการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกธรรม แผนกบาลี
                         ๑.๒ สาขาการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา
                         ๑.๓ สาขาการศึกษาพระพุทธศาสนา แผนกอุดมศึกษา
                             การศึกษาพระพุทธศาสนา หมายถึง การศึกษาซึ่งคณะสงฆเปนผูจัดตั้งและดําเนินการ
                  ไมวาจะเปนแผนกบาลี แผนกธรรม แผนกสามัญศึกษา และการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ในสาขาวิชา
                  พระพุทธศาสนา พระเถระรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งอาจจะเปนเจาสํานักเรียน เจาของ ผูกอตั้งสถาบันการศึกษาหรือ
                  พระสงฆรูปใดรูปหนึ่งหรือหลายรูป หรือคฤหัสถคนใดคนหนึ่งหรือหลายคน เปนกําลังสําคัญในการดําเนินการ
                  จนเปนผลสําเร็จดวยดี มีประสิทธิภาพในการเรียนการสอน มีอาคารสถานที่เปนเอกเทศ มีจํานวนผูสอน
                  และผูเรียนมีปริมาณสูงพอสมควร เปนสํานักเรียนและสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียง เปนที่เชิดหนาชูตาในเขต
                  หรือทองที่นั้น ๆ จนเปนที่ยอมรับกันโดยทั่วไป
                             ในการประเมินคุณคาของสํานักเรียนและสถาบันการศึกษาแตละแหงนั้น จะพิจารณาจาก
                  บทบาทของเจาสํานักเรียน ผูกอตั้ง เจาของ ผูบริหารหรือพระสงฆรูปใดรูปหนึ่ง หรือคฤหัสถคนใดคนหนึ่ง
                  ซึ่งไดรับมอบหมายและมีบทบาทสําคัญในการดําเนินงานอยางมีประสิทธิผล ทั้งนี้ โดยประเมินผลจาก
                             (๑) การสนับสนุนการศึกษา ความพรอมในการดําเนินงานในดานอาคารสถานที่ อุปกรณ
                  การเรียนการสอน ทุนการศึกษา เปนตน
                             (๒) งบประมาณในการดําเนินงานแตละป การอุปถัมภบํารุงพระภิกษุสามเณร หรือเด็ก
                  และเยาวชนผูศึกษาเลาเรียนในวัด ดวยปจจัยสี่และการเรียนการสอน
                             (๓) จํานวนผูสอนและผูเรียน ประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์จํานวนผูสอบไลได โดยเปรียบเทียบ
                  กับกลุมทั้งหมดในสาขาเดียวกัน และพิจารณาจากผลลัพธหรือสถิติในรอบ ๕ ป
                             สํานักเรียนเกาแกของวัดและสถาบันการศึกษาที่เปดการเรียนการสอนมานาน สามารถรักษา
                  มาตรฐานในการจัดการศึกษาอยางตอเนื่องและมีประสิทธิภาพสูง
                         ๑.๔ สาขาการแตงหนังสือทางพระพุทธศาสนา
                             การแตงหนังสือทางพระพุทธศาสนา ถือไดวาเปนความสามารถเฉพาะตัวของผูแตง เปนที่
                  ยอมรับของคนทั่วไปวา หนังสือเปนอุปกรณสําคัญในการศึกษา ไมวาจะเปนการศึกษาในระบบตามหลักสูตร
                  หรือนอกระบบซึ่งมีผลจากการอานเปนความรูและสติปญญา นอกจากนี้ หนังสือทางพระพุทธศาสนา
                  ยังเปนสิ่งสําคัญและจําเปนตอการเผยแผพระพุทธศาสนา
                             การพิจารณาจะคํานึงถืง
                             (๑) ดานคุณภาพ คือ เนื้อหาสาระของเรื่องวามีความถูกตองตรงตามหลักธรรมของ
                  พระพุทธศาสนาใหความจริงและเหตุการณที่ถูกตอง มีสํานวนกระชับนาอาน เปนที่ใครธรรม ชวนใหประพฤติ
                  ปฏิบัติตาม มีคุณคา ตอการศึกษาพระพุทธศาสนาในดานใดดานหนึ่งหรือหลายดาน
                             (๒) ดานปริมาณ มีจํานวนพอสมควร ไมวาจะเปนผลงานหนังสือที่จัดพิมพเปนรูปเลม
                  จํานวนมากกวา ๕ เลมขึ้นไป อาจมีผลงานดานบทความทางวิชาการประกอบดวยก็ได วาโดยรูปแบบ
                  อาจจะเปนเรื่องแตง เรื่องแปล ปาฐกถา หรือบทความ รวมพิมพเปนเลม
                             (๓) หนังสือประเภทแบบเรียนตามหลักสูตรวิชาศีลธรรมหรือจริยธรรมศาสนา หรือปรัชญา
                  จะไมไดรับการพิจารณาเปนผลงานหลัก แตอาจใชเปนผลงานประกอบเทานั้น



                                                                                                 7
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43