Page 39 - [E-Book] วันศาสนูปถัมภ์ พ.ศ. ๒๕๖๐
P. 39
ศาสนาพราหมณ-ฮินดู
วันส�ำคัญและเทศกำลทำงศำสนำ
วันสําคัญในเดือนอาย
ในเดือนอ้าย พิธีพราหมณ์มีอยู่ ๒ พิธี คือ พิธีไล่เรือ และพิธีจองเปรียง
พิธีไลนํ้า
การพระราชพิธีในเดือนอ้าย ตามที่ในตามกฎมนเทียรบาล เรียกว่า
ไล่เรือ เถลิงพิธีตรียัมพวายให้น�้าลดเร็วๆ คือ ถึงเดือนอ้ายแล้วน�้ายังมากไม่ลด
เมล็ดข้าวในรวงแก่หล่นลงในน�้า ถึงจะค้างอยู่ก็เป็นข้าวเมล็ดหักละเอียด
เพราะเกี่ยวไม่ได้ด้วยน�้ามาก จึงต้องขวนขวายที่จะให้น�้าลด พิธีนี้จะต้องท�า
ในเดือนอ้าย จะเลื่อนไปเดือนยี่ก็เป็นเวลาเกินต้องการไป ตามในกฎมนเทียรบาล
กล่าวไว้ว่า พระเจ้าแผ่นดินและพระอัครมเหสี พระเจ้าลูกเธอ หลานเธอ และ
พระสนม แต่งอย่างเต็มยศโบราณลงเรือพระที่นั่ง เจ้าพระยามหาเสนาตีฆ้อง
มีอาลักษณ์หรือราชบัณฑิตอ่านค�าประกาศตั้งสัตยาอธิษฐาน นมัสการพระรัตนตรัย
และเทพยดา และพระเจ้าแผ่นดินซึ่งนับเป็นสมมติเทพยดา แล้วอ้างความสัตย์
ซึ่งได้มีความนับถือต่อเทพยดาทั้งสาม คือ วิสุทธิเทพยดา อุปปาติกเทพยดา
สมมติเทพยดา ขอให้น�้าลดลงไปตามความประสงค์
พิธีจองเปรียง
พระราชพิธีจองเปรียงนี้ เป็นพิธีพราหมณ์ท�าแต่ฝายเดียว ต่อมา
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เพิ่มพิธีสงฆ์เข้าด้วย
เรื่องความเป็นมาแห่งพิธียกโคมตามประทีปบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม
คือ พระอิศวร พระพรหม พระนารายณ์ ตามก�าหนดที่ยกโคมนั้น คือเดือน ๑๒
ถ้าปีใดมีอธิกมาสให้ยกโคมมาตั้งแต่ขึ้น ๑ ค�่า เดือน ๑๒ เป็นต้นไป จนถึง
วันแรม ๒ ค�่า จึงเป็นวันลดโคม และถ้าปีใดไม่มีอธิกมาส ให้ยกโคมขึ้นในวันขึ้น ๑๓ ค�่า
เดือนอ้าย ขึ้นค�่าหนึ่งเป็นวันลดโคมลง ในพิธีนี้พราหมณ์เป็นผู้ท�าในพระบรมมหาราชวัง
คือ พราหมณ์ประชุมกันผูกพรต พระราชครูฯ ต้องกินถั่วกินงาสิบห้าวัน ส่วนพราหมณ์
นอกนั้นกิน ๓ วัน เวลาเช้าพราหมณ์ต้องถวายน�้ามหาสังข์ทุกวันจนถึงวันลดโคมลง
เทียนที่จะจุดในวันนั้นต้องเอามาถวายให้ทรงทาเปรียงเสียก่อน
32
วันศาสนูปถัมภ พ.ศ. ๒๕๖๐