Page 44 - [E-Book] วันศาสนูปถัมภ์ พ.ศ. ๒๕๖๐
P. 44
ศาสนาพราหมณ-ฮินดู
วันสําคัญในเดือน ๖
ขึ้น ๓ ค�่า เดือน ๖ เรียกชื่อว่า อกษัตยริติยา การท�าบุญกันในวันนี้
เชื่อกันว่าบุญที่ท�าในวันนี้นั้นจะทรงอยู่ชั่วนิรันดร และในวันนี้ปางที่ ๕ ของพระวิษณุ
ชื่อปรศุรามจะมาปรากฏ
ขึ้น ๑๔ ค�่า เดือน ๖ เรียกว่า นฤสิงหจตุรทศี เป็นวันปรากฏของพระวิษณุ
ปางที่ ๓ ชื่อนฤสิงห์ การประกอบพิธีเพื่อบูชาพระวิษณุเจ้าในวันนี้เพื่อพิชิตศัตรู
ขึ้น ๑๕ ค�่า เดือน ๖ เรียกว่า ไวศาขีปูรณิมา เป็นวันศูนย์กลางของสงกรานต์
วันนี้ทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดูถือว่าส�าคัญมาก เพราะตามสุริยคตินั้นถือว่า
เป็นวันเพ็ญแรกของปี ประชาชนท�าพิธีบูชาไฟและท�าบุญตามประเพณีของตระกูล
แต่ละตระกูล ในวันนี้ถ้าสถานที่แห่งใดมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่จะต้องจัดการ
แห่พระพุทธรูปนั้น
เดือน ๖ เรียกว่า พระราชพิธีมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็น
พระราชพิธี ๒ วัน ก�าหนดวันโดยค�านวณตามหลักวิชาโหราศาสตร์ ดังนั้น
วันในแต่ละปีจะไม่ตรงกัน แต่พิธีพืชมงคลเป็นพิธีสงฆ์ พิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
เป็นพิธีพราหมณ์ ความหมายของพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญนั้น
ก็เพื่อต้องการให้พืชพันธ์ุธัญญาหารในพระราชอาณาจักร อุดมสมบูรณ์
ตลอดฤดูกาลการเพาะปลูก โดยขอพรจากเทพเจ้าให้ทรงเมตตาต่อประชาราษฎร์
ทั้งมวล อีกนัยหนึ่งก็เปรียบเสมือนว่าพระเจ้าแผ่นดินเองทรงประกอบการเกษตรด้วย
และเป็นนิมิตหมายว่าฤดูการเกษตรได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว
วันที่ ๑๓ เมษายนของทุกปี อันเป็นวันสงกรานต์ ฉะนั้น จึงเรียกกันว่า
เมษสงกรานติ หรือสตุอาสงกรานติ จัดท�าการบูชาพระวิษณุ และจัดการท�าบุญ
ด้วยขนมสตุและน�้าเพื่อเป็นการบ�าบัดทุกข์แก่คนอื่นด้วยของกินและน�้า บางแคว้น
ในประเทศอินเดีย ถือว่าวันนี้เป็นวันปีใหม่ด้วย เช่น แคว้นปัญจาบ เป็นต้น
เพราะในปัญจาบเดือนนี้เป็นเดือนที่เก็บข้าวสาลีเสร็จ เมื่อการเก็บเกี่ยว
เสร็จเรียบร้อยแล้วก็ฉลองปีใหม่เลย
37
วันศาสนูปถัมภ พ.ศ. ๒๕๖๐