Page 95 - รายงานผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้บริหารศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ๑๘ ภาคคณะสงฆ์ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓
P. 95
๓. มีการพัฒนาศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เป็นศูนย์กลางในการจัดการเรียนการสอน
ได้แก่ หนึ่ง ต้องพัฒนาบุคลากรด้านการสอน ให้มีทักษะในการถ่ายทอดให้กับเยาวชนได้ดี สอง
ศูนย์ฯ ต้องมีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ทั้งในวันสำคัญทางชาติ ศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์
เพราะเด็กรุ่นใหม่ไม่ค่อยซาบซึ้งในเรื่องของสถาบันสำคัญของชาติ สาม ควรมีหลักสูตรในการฝึกอาชีพ
เพื่อดึงผู้ปกครอง หรือประชาชนในชุมชนเข้ามาร่วมกิจกรรมของศูนย์ฯ อีกทางหนึ่ง
๔. สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน
๕. ต้องมีการทำงานบูรณาการร่วมกันทุกภาคส่วน ได้แก่ องค์ปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน
วัด และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด เพื่อทำงานประสานสอดคล้องกัน
ประเด็นสุดท้ายที่สำคัญ คือ ตัวศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์เองต้องมีการพัฒนา
ตัวเองใน ๓ ด้าน ได้แก่
๑) ด้านการบริหารจัดการ สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ สภาพแวดล้อม และสถานที่
๒) ด้านวิชาการ จัดหลักสูตร ตำรา และอุปกรณ์การเรียนการสอน
๓) ด้านงบประมาณ
การขอสนับสนุนงบประมาณของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
๑. ทางศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ จะต้องทำให้บุคคลภายนอกทราบและเข้าใจว่า
ทางศูนย์ฯ มีการดำเนินงานอะไรบ้าง และทำแล้วเกิดประโยชน์กับใครบ้าง หลักการ คือ
- ต้องมีการประชาสัมพันธ์ อย่างกว้างขวาง ไม่ใช่เฉพาะนักเรียน โรงเรียน ผู้ปกครอง
แต่ต้องให้ทั่วถึงไปยังหน่วยงานภาครัฐ เอกชน หรือในชุมชน ในสังคม เพื่อให้พวกเขารับทราบ และ
รู้จักศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ให้มากที่สุด และเกิดความเข้าใจถึงประโยชน์ที่เด็ก และชุมชน
จะได้รับ
- ความศรัทธาต่อพระคุณเจ้า และวัด สร้างแรงสนับสนุนได้อย่างมากมายจากชุมชน
และประชาชนทั่วไป เมื่อวัดทำประโยชน์ให้แก่สังคมก็สามารถระดมทุนได้อย่างกว้างขวาง
- จากหน่วยงานภาครัฐ เช่น งบพัฒนาจังหวัดจากผู้ว่าราชการจังหวัด งบองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งสามารถตั้งงบประมาณสนับสนุนในพื้นที่ได้
ขอฝากพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” เมื่อเราสร้าง
ความเข้าใจ และสามารถเข้าถึงแหล่งงบประมาณ ก็จะสามารถนำงบประมาณมาพัฒนาศูนย์ศึกษา
พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ได้
รายงานผลการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้บริหารศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ๑๘ ภาคคณะสงฆ์