Page 41 - รายงานผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้บริหารศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ๑๘ ภาคคณะสงฆ์ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓
P. 41

ประโยชน์ของการจัดทำมาตรฐานศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
                      ๑. จะทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีโอกาสได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและ
             พัฒนาศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การร่วมกำหนดเป้าหมาย การวางแผน

             การทำตามแผน การประเมินผล และการนำผลการประเมินมาปรับปรุงการดำเนินงาน
                      ๒. เด็กและเยาวชน  ผู้เรียนและผู้ปกครองมีหลักประกันและความมั่นใจว่าศูนย์ศึกษา
             พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ จะจัดการศึกษาที่มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
                      ๓. บุคลากรที่มีส่วนในการบริหารจัดการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ได้ทำงาน
             อย่างมืออาชีพ เป็นระบบ มีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบ สามารถตรวจสอบได้ และเน้นวัฒนธรรม
             คุณภาพ มีการพัฒนาตนเองและผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ทำให้เป็นที่ยอมรับของผู้ปกครองและชุมชน
                      ๔. ผู้บริหารศูนย์ฯ ได้ใช้ภาวะผู้นำ และความรู้ความสามารถที่มี ในการบริหารจัดการอย่าง

             เป็นระบบ และมีความโปร่งใส เพื่อพัฒนาศูนย์ฯ ให้มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับและนิยมชมชอบของ
             ผู้ปกครองและชุมชน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจและเป็นประโยชน์
             ต่อสังคม
                      ๕. กรมการศาสนาจะได้ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ที่มีคุณภาพและศักยภาพ

             ในการพัฒนาศีลธรรมของชุมชน ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระ ให้กับผู้ปกครองและก่อให้เกิดความมั่นใจ
             ในคุณภาพของเด็กนักเรียนและคุณภาพของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
                      ๖. ทุกภาคส่วน เช่น ผู้ประกอบการ ประชาชนในชุมชน สังคม และประเทศชาติได้เยาวชน
             และคนดีมีคุณภาพและศักยภาพที่จะช่วยทำงานพัฒนาชุมชน สังคมและประเทศชาติต่อไป

             ขั้นตอนการประเมินมาตรฐานคุณภาพศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์

                      ขั้นตอนการประเมินสำหรับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด
                      ๑. จังหวัดได้ดำเนินการคัดเลือกจากการประเมินตามมาตรฐานคุณภาพศูนย์ศึกษา
             พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ได้ศูนย์ต้นแบบจังหวัดละ ๑ ศูนย์ และได้มีการขยายการเรียนรู้ไปสู่ศูนย์ต่าง ๆ

             ในจังหวัดอีก ๑๐ ศูนย์ จังหวัดได้สรุปปัญหา และแนวทางการแก้ไขปัญหาของศูนย์ทั้ง ๑๐ ศูนย์ รวมทั้ง
             จัดทำแผนการพัฒนาศูนย์ทั้ง ๑๐ ศูนย์
                      ๒. จังหวัดดำเนินการประเมินมาตรฐานคุณภาพศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
             ในเชิงลึกตามแบบประเมินมาตรฐานขั้นพื้นฐาน และแบบสอบถาม/แบบทดสอบ จำนวน ๖ แบบ โดยให้
             ทำการประเมินจากศูนย์ต้นแบบของจังหวัดที่ผ่านการคัดเลือกในขั้นต้นจากจังหวัดแล้วจังหวัดละ ๔ ศูนย์
                      ๓. แต่ละศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ต้นแบบทั้ง ๔ ศูนย์ เพื่อการพัฒนามาตรฐาน

             ของศูนย์ฯ จังหวัด สำหรับการประเมิน ดังนี้
                        ๑) แบบประเมินมาตรฐานศูนย์ สำหรับผู้บริหาร คณะกรรมการศูนย์ฯ และครูผู้สอน
                        ๒) แบบสอบถาม-แบบทดสอบ สำหรับการประเมินนักเรียน/ผู้ปกครอง
                      ๔. จังหวัดให้คำปรึกษาแก่ศูนย์ฯ ของจังหวัดในการประเมินมาตรฐานคุณภาพศูนย์ศึกษา
             พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ และประสานงานกับกรมการศาสนาในการประเมินฯ

                      ๕. สรุปผลจากแบบประเมิน/แบบสอบถาม/แบบทดสอบ จากศูนย์ฯ ทั้ง ๔ ศูนย์ในจังหวัด


                               รายงานผลการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้บริหารศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ๑๘ ภาคคณะสงฆ์
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46