Page 26 - เสาเสมาธรรมจักร รางวัลพระราชทาน ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๗
P. 26
ด้วยพระธรรมเทศนา ชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตนะ ซึ่งเป็นก�าเนิดของวงล้อธรรมะอันจะหมุน
เคลื่อนตัวไปรอบแล้วรอบเล่า เพื่อจะให้เข้าถึงประชาหมู่สัตว์ทั่ว ไป ดุจวงล้อของราชรถ ที่พระราชา
ประทับขับเคลื่อนไป ฉะนั้น ส่วนกวางหมอบเป็นสัญลักษณ์ของสถานที่ เป็นที่แสดงธรรมของ
พระสัมมาสัมพุทธะ นั่นคือราวป่าเป็นที่อยู่อาศัยของบรรดาสรรพสัตว์เขตปลดปล่อยโดยสวัสดิภาพ
มีชื่อเรียกว่า “ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน”
นักปราชญ์ทางศาสนาจึงก�าหนดเอาวงล้อเป็นดุจธรรมคลาเคลื่อน และรูปสัตว์กวางเป็นสถานที่
ประกาศธรรมะมารวมกันหมายว่าเป็นสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาประการหนึ่ง เรียกว่า “ธรรมจักร”
เป็นสัญลักษณ์อันประเดิมเริ่มแรกของพระพุทธศาสนา
หลังจากนั้น ถัดมาอีกประมาณ ๒๓๐ กว่าปี ในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช ผู้ยิ่งใหญ่ของ
ชมพูทวีปในประเทศอินเดีย ทรงนับถือและเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่งจนถึงกับทรงยอมรับ
เป็นศาสนูปถัมภกในคราวที่พระองค์ทรงโปรดให้พระภิกษุสงฆ์ช�าระและท�าสังคายนาพระพุทธศาสนา
นับเป็นการท�าสังคายนาครั้งที่ ๓ ภายหลังจากเสร็จสิ้นการสังคายนาแล้ว พระองค์ทรงโปรดให้พระสงฆ์
หัวหน้าท�าสังคายนาคัดเลือกส่งพระสงฆ์ผู้มีความสามารถไปประกาศพระพุทธศาสนายังประเทศต่าง
หลายสาย ประเทศไทยของเราก็มีส่วนได้รับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาครั้งนี้ด้วย โดยพระโสณเถระและ
พระอุตตรเถระได้มาเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่สุวรรณภูมิประเทศ (อาณาจักรทวาราวดี) และพระเจ้าอโศก
มหาราช ได้ทรงท�านุบ�ารุงพระพุทธศาสนาเป็นการใหญ่ โดยเฉพาะคือพระองค์ได้สร้างอนุสาวรีย์สถาน
ในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ คือ สถานที่ประสูติ สถานที่ตรัสรู้ สถานที่แสดงปฐมเทศนา และสถานที่ปรินิพพาน
ของพระพุทธเจ้า ณ สถานที่นั้น พระองค์ได้ทรงสร้างสถูปเจดีย์ไว้อย่างมั่นคงและแข็งแรง ยังมีปรากฏ
ให้เห็นอยู่ในชมพูทวีป ประเทศอินเดียถึงทุกวันนี้ และที่ส�าคัญคือ สถานที่นั้น พระองค์ได้ทรงสร้าง
เสาหินใหญ่ไว้ทุกแห่ง บนยอดของเสาหินนั้น มีรูปสิงห์ยืนผงาดอยู่ทั้ง ๔ ทิศ ยืนหันหลังให้กันและกันที่หน้าอก
ของสิงห์แต่ละตัวสลักรูปเสมาธรรมจักรไว้ทุกตัว โดยมีกงล้อถึง ๒๔ กงด้วยกัน และเป็นสัญลักษณ์ให้รู้กันว่า
ณ สถานที่นี้มีความเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา และพระพุทธศาสนาเคยมีความมั่นคง ณ สถานที่นี้ ดังนั้น
จึงท�าให้เกิดสัญลักษณ์ที่เรียกว่า เสำเสมำธรรมจักร ขึ้น ซึ่งมีความหมายทั้งเสาเสมา เสาที่เป็นเขตแดน
ความมั่นคง และวงล้อธรรมจักรอันหมายถึงการประกาศเผยแผ่หลักธรรมในพระพุทธศาสนาให้เข้าถึง
ประชาชน รวมเป็น เสำเสมำธรรมจักร โดยกรมการศาสนาได้จ�าลองรูปแบบส่วนหนึ่งมาเป็นสัญลักษณ์
และมอบให้แก่ผู้บ�าเพ็ญคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาในงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องใน
วันวิสาขบูชาทุกปี
ส�าหรับตราธรรมจักรนั้น บางท่านอยากจะทราบต่อไปอีกก็ได้ว่า บางตรามี ๔ มี ๘ มี ๑๖
มี ๓๗ หรืออาจมีมากกว่านี้ก็มีนั้น ขอเรียนว่านั่นเป็นเครื่องหมายที่นักปราชญ์ทางศาสนาท่านคิดค้น
หลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาย่อมาใส่ไว้เป็นกงหนึ่ง ในตราธรรมจักรนั้น เช่น ๔ กง อาจหมายถึง
หลักของอริยสัจจ์ ๔ ก็ได้ ๘ กง อาจหมายถึงมรรคมีองค์ประกอบ ๘ ประการก็ได้ อาจหมายถึงมรรค ๔
ผล ๔ ก็ได้ ๑๖ กง อาจหมายถึงญาณ ๑๖ ในวิปัสสนากัมมัฏฐานก็ได้ ๒๔ กง อาจหมายถึงปัจจยาการ ๑๒
(อิทัปปัจจยตา) ทั้งฝ่ายอนุโลมและฝ่ายปฏิโลมรวมเป็น ๒๔ ก็ได้ ๓๗ กง อาจหมายถึง โพธิปักขิยธรรม ๓๗
ประการก็ได้ หรืออาจหมายถึงอย่างอื่นอีกสุดแต่จะก�าหนดความหมายเอาหลักธรรมที่ตนเองเลื่อมใสหรือ
ปฏิบัติมาย่อเข้านั่นเอง
ธงชัย สุมนจักร
ผู้เรียบเรียง