Page 361 - มหัศจรรย์ อารามงดงาม ทั่วไทย ๒
P. 361

วัดพระบรมธาตุเจดีย์เขียนบางแก้ว ตั้งอยู่อ�าเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ตามประวัติ

               บันทึกว่าราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ (พ.ศ. ๑๔๘๒) สมัยอาณาจักรศรีวิชัย เจ้าพระยากรุงทอง เจ้าเมืองพัทลุง
               ได้สร้างวัดเขียนบางแก้วและสิ่งก่อสร้างขึ้น ต่อจากนั้นเจ้าพระยากุมารกับนางเลือดขาว ได้อัญเชิญ
               พระบรมสารีริกธาตุจากประเทศศรีลังกา มาบรรจุไว้ในพระมหาธาตุเจดีย์ จากหลักฐานทางโบราณคดี

               แสดงให้เห็นว่าวัดเขียนบางแก้ว อาจสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๔ อันเนื่องมาจากนักโบราณคดี
               ก�าหนดอายุจากรูปแบบสถาปัตยกรรมขององค์พระธาตุสันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้ สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา
               เพราะจากโบราณสถานและโบราณวัตถุที่ส�าคัญ ที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์อินดูและ

               อารยธรรมอินเดียในพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๔ บริเวณนี้กลายเป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณ ในสมัย
               อยุธยาตอนต้นเป็นวัดที่มีความเจริญมาก แต่สมัยอยุธยาตอนกลางเมืองพัทลุงเกิดสงครามกับ

               พวกโจรสลัดมลายู ท�าให้วัดเขียนบางแก้วเป็นวัดร้าง ต่อมาได้บูรณะวัดเขียนบางแก้วขึ้นใหม่ในสมัย
               ปลายรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อจากนั้นมาก็เจริญรุ่งเรือง มีพระสงฆ์จ�าพรรษาอยู่เรื่อยมา
               จนถึงปัจจุบัน

                        สิ่งส�าคัญ คือ พระมหาธาตุเจดีย์บางแก้ว เป็นโบราณสถานที่มีอายุกว่า ๑,๐๐๐ ปี
               เป็นปูชนียสถานที่เก่าแก่ที่สุดแห่งของจังหวัดพัทลุง และระเบียงหรือวิหารคดเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน

               หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผาล้อมรอบพระมหาธาตุเจดีย์ ทั้ง ๓ ด้าน ยกเว้นทางด้านทิศตะวันออก
               ระเบียงหรือวิหารคดเป็นอาคารก่อด้วยอิฐถือปูนเครื่องไม้มุงด้วยกระเบื้องดินเผา ล้อมรอบ
               องค์พระมหาธาตุเว้นด้านทิศตะวันออก ซึ่งติดกับอุโบสถภายในระเบียงคด ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น

               ฝีมือช่างพื้นเมือง จ�านวน ๑๐๘ องค์ ชาวบ้านเรียกว่า “พระเวียง”
                                                                                                                              แผนที่


                                                                                           มหัศจรรย์อาราม งดงามทั่วไทย เล่ม ๒     335
   356   357   358   359   360   361   362   363   364   365   366