Page 359 - มหัศจรรย์ อารามงดงาม ทั่วไทย ๒
P. 359
วัดวิหารเบิก หรือ วัดเบิก ตั้งอยู่อ�าเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ไม่ปรากฎหลักฐานว่าสร้างเมื่อใด โดยจากรูปแบบสถาปัตยกรรม
ที่หลงเหลืออยู่สันนิษฐานว่าคงสร้างขึ้นราวสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คาดว่าอาจสร้างพร้อมวัดวังและวัดยางงามที่ตั้งอยู่บริเวณละแวกเดียวกัน
ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของวัดทั้งสาม มีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก ส�านักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติระบุว่าตั้งวัด เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๒
ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๕ ซึ่งต่อมากรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘
อุโบสถก่ออิฐถือปูน มีก�าแพงแก้วล้อมรอบ ประตูก�าแพงแก้วด้านหน้าท�าเป็นซุ้ม ฐานอุโบสถเป็นฐานบัว ผนังอาคารส่วนในทึบ มีหน้าต่าง
ด้านละ ๓ บาน มีประตูทางเข้า ๑ ประตูเฉพาะด้านทิศตะวันออก และประตูหน้าต่างทุกบานประดับซุ้มปูนปั้นลวดลายพรรณพฤกษา หน้าบัน
ด้านทิศตะวันออก ตกแต่งด้วยลายปูนปั้นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑยุดนาค ประกอบลายกนกเปลวก้านแย่ง หน้าบันด้านทิศตะวันตกตกแต่งด้วย
ลายปูนปั้นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
สิ่งส�าคัญ คือ พระพุทธรูปจ�าหลักหินอ่อน ปางมารวิชัยประทับนั่งขัดสมาธิเพชร พระเกตุมาลาเป็นเปลวเพลิงซึ่งประกอบเข้าภายหลัง
เป็นศิลปะพม่า ภายในอุโบสถประดิษฐานพระประธานปูนปั้นปางมารวิชัย ฝาผนังทั้ง ๔ ด้านเขียนภาพจิตรกรรม ด้านหน้าพระประธาน
เขียนรูปพุทธประวัติตอนมารผจญ ด้านหลังพระประธานเขียนเป็นรูปเรือนแก้วเพื่อเน้นองค์พระพุทธรูปด้านหน้าให้เด่นชัดขึ้น สองข้างเรือนแก้ว
มีรูปฤๅษี วิทยาธร และรูปยักษ์ยืนถือกระบองแบบเดียวกับวัดวัง ฝาผนังด้านข้างตอนบนเขียนเป็นรูปเทพชุมนุมขนาดใหญ่ ตอนล่างระหว่างช่องประตู
และหน้าต่างเขียนเรื่องทศชาติชาดกแต่ลบเลือนเสียมากแล้ว ผู้เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดวิหารเบิกคือ หลวงเทพบัณฑิต (สุ่น) เขียนขึ้นราว
พ.ศ. ๒๔๐๓ คราวเดียวกับการบูรณะวัดวังในสมัยรัชกาลที่ ๔ นับเป็นจิตรกรรมพุทธศิลป์ที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา และถ่ายทอด
หลักธรรมค�าสอนผ่านความงดงามของภาพจิตรกรรมที่ปรากฏแก่เหล่าพุทธศาสนิกชนผู้มาเยือน
แผนที่
มหัศจรรย์อาราม งดงามทั่วไทย เล่ม ๒ 333