Page 117 - มหัศจรรย์อาราม งดงาม ทั่วไทย เล่ม ๑
P. 117
วัดท้องลับแล ตั้งอยู่อ�าเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ เดิมชื่อวัดลับแลง (แลงเป็นภาษาท้องถิ่นแปลว่าตอนเย็น) วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่
ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด แต่มีหลักฐานส�าคัญระบุไว้ใน ปี พ.ศ. ๒๔๒๐ โดยมีการบูรณะครั้งส�าคัญและมีการสร้างโบสถ์ขึ้นใหม่
ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็นวัดท้องลับแล ในวิหารมีภาพวาดเฉพาะบริเวณเหนือขอบประตูหน้าต่างและเหนือเศียรพระประธาน ผนังด้านขวาพระประธาน
เป็นรูปพุทธประวัติ ส่วนด้านซ้ายพระประธานเป็นเรื่องเวสสันดร และในโบสถ์ เขียนเต็มผนังทั้ง ๔ ด้าน ผนังด้านหลังพระประธานวาดเป็นซุ้มเรือนแก้ว
ให้พระประธาน และข้างประตูเขียนภาพวิถีชีวิตของชาวลับแลและต�านานเจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร ปฐมกษัตริย์แห่งนครลับแล
สิ่งส�าคัญ คือ ภาพเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุกลับหัวลง หากเข้าไปภายในพระอุโบสถและปิดประตูให้สนิททั้งหมดแล้ว
ให้เปิดหน้าต่างบานที่อยู่ตรงกันกับเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุให้พอมีแสงเข้าเล็กน้อย แล้วมองไปบนฝาผนังที่มีแสงสะท้อน จากรูเล็กๆ
ของบานหน้าต่างปรากฏว่าภาพที่ปรากฏบนฝาผนังที่สะท้อนมาจากเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุกลายเป็นภาพกลับหัวอย่างอัศจรรย์
ซึ่งหากมองด้วยตาจากภายในพระอุโบสถออกไปด้านนอกซึ่งเป็นเจดีย์บรรจุพระบรมสารีธาตุก็จะมองเป็นแนวตั้งปกติ แต่หากปิดหน้าต่างแล้ว
มองผ่านแสงพระอาทิตย์ส่องเข้ามากลับปรากฏเป็นภาพเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุกลับหัวลง
แผนที่
มหัศจรรย์อาราม งดงามทั่วไทย เล่ม ๑ 91