Page 114 - มหัศจรรย์อาราม งดงาม ทั่วไทย เล่ม ๑
P. 114

วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ตั้งอยู่อ�าเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ถือได้ว่าเป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมือง

                                              ของจังหวัดอุตรดิตถ์ เนื่องจากเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุมาตั้งแต่ครั้งอดีต โดยพระเจดีย์
                                              ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุนั้นมีการบูรณะซ่อมแซมมาหลายยุคหลายสมัย ซึ่งในบางครั้งอาจมีที่มาจาก
                                              การที่พระเจดีย์พังทลายหรือได้รับความเสียหาย ดังเช่นการพังทลายของพระเจดีย์ครั้งหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๕

                                              ที่ปรากฏหลักฐานในเอกสารจดหมายเหตุ ระบุว่าเมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๒๗ (พ.ศ. ๒๔๕๑)
                                              ได้เกิดเหตุพระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุวัดทุ่งยั้งพังทลายลง ผลจากการพังทลายท�าให้ได้พบสิ่งของที่บรรจุ
                                              อยู่ในพระเจดีย์ ประกอบด้วย พระบรมธาตุ ๒ องค์ กับตลับ ๗ ชั้น และโกศทองค�าที่ใส่พระบรมธาตุ

                                              พระพุทธรูปทองค�าและเงินขนาดเล็กและขนาดกลาง รวมทั้งสิ่งของอีกหลายรายการ เช่น เศษทองค�า
                                              เศษเงิน เหรียญเงินเฟื้องสลึง เหรียญเงินรูเปีย พลอยแหวนสีต่างๆ เครื่องเงินและเครื่องทองเหลือง เป็นต้น

                                                       สิ่งส�าคัญ คือ พระมหาธาตุเจดีย์ ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ซึ่งประดิษฐาน
                                              อยู่ด้านหลังองค์พระประธาน นามว่า “หลวงพ่อประธานเฒ่า” หรือ “หลวงพ่อหลักเมือง” เป็นพระพุทธรูป
                                              ปางมารวิชัย เป็นศิลปะสมัยเชียงแสน และยังมีโบราณวัตถุภายในวัด รวมทั้งภาพจิตรกรรมฝาผนังเก่าแก่

                                              เรื่องพระสังข์ทอง วัดแห่งนี้เป็นวัดเก่าแก่ที่มีต�านานเกี่ยวกับการเสด็จมาของพระพุทธเจ้า นับเป็นศิลปะ
                                              แบบไทยอันทรงคุณค่าและความศรัทธาที่ฝังแน่นอยู่ในจิตใจของพุทธศาสนิกชน

                   แผนที่



               88        มหัศจรรย์อาราม งดงามทั่วไทย เล่ม ๑
   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119