Page 25 - ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา พ.ศ. ๒๕๖๖
P. 25

ดวยพระธรรมเทศนา ชื่อวา “ธัมมจักกัปปวัตนะ” ซึ่งเปนกําเนิดของวงลอธรรมะอันจะหมุน
            เคลื่อนตัวไปรอบแลวรอบเลา เพื่อจะใหเขาถึงประชาหมูสัตวทั่ว ๆ ไป ดุจวงลอของราชรถ ที่พระราชา
            ประทับขับเคลื่อนไป  ฉะนั้น  สวนกวางหมอบเปนสัญลักษณของสถานที่  เปนที่แสดงธรรมของ
            พระสัมมาสัมพุทธะ นั่นคือราวปาเปนที่อยูอาศัยของบรรดาสรรพสัตวเขตปลดปลอยโดยสวัสดิภาพ
            มีชื่อเรียกวา “ปาอิสิปตนมฤคทายวัน”
                    นักปราชญทางศาสนาจึงกําหนดเอาวงลอเปนดุจธรรมคลาเคลื่อน และรูปสัตวกวางเปนสถานที่
            ประกาศธรรมะมารวมกันหมายวาเปนสัญลักษณทางพระพุทธศาสนาประการหนึ่ง เรียกวา “ธรรมจักร”
            เปนสัญลักษณอันประเดิมเริ่มแรกของพระพุทธศาสนา
                    หลังจากนั้น ถัดมาอีกประมาณ ๒๓๐ กวาป ในรัชสมัยของพระเจาอโศกมหาราช ผูยิ่งใหญของ
            ชมพูทวีปในประเทศอินเดีย ทรงนับถือและเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเปนอยางยิ่งจนถึงกับทรงยอมรับ
            เปนศาสนูปถัมภกในคราวที่พระองคทรงโปรดใหพระภิกษุสงฆชําระและทําสังคายนาพระพุทธศาสนา
            นับเปนการทําสังคายนาครั้งที่ ๓ ภายหลังจากเสร็จสิ้นการสังคายนาแลว พระองคทรงโปรดใหพระสงฆ
            หัวหนาทําสังคายนาคัดเลือกสงพระสงฆผูมีความสามารถไปประกาศพระพุทธศาสนายังประเทศตาง ๆ
            หลายสาย ประเทศไทยของเราก็มีสวนไดรับการเผยแผพระพุทธศาสนาครั้งนี้ดวย โดยพระโสณเถระและ
            พระอุตตรเถระไดมาเผยแผพระพุทธศาสนาที่สุวรรณภูมิประเทศ (อาณาจักรทวาราวดี) และพระเจาอโศก
            มหาราช ไดทรงทํานุบํารุงพระพุทธศาสนาเปนการใหญ โดยเฉพาะคือพระองคไดสรางอนุสาวรียสถาน
            ในสังเวชนียสถานทั้ง ๔ คือ สถานที่ประสูติ สถานที่ตรัสรู สถานที่แสดงปฐมเทศนา และสถานที่ปรินิพพาน
            ของพระพุทธเจา ณ สถานที่นั้น ๆ พระองคไดทรงสรางสถูปเจดียไวอยางมั่นคงและแข็งแรง ยังมีปรากฏ
            ใหเห็นอยูในชมพูทวีป ประเทศอินเดียถึงทุกวันนี้ และที่สําคัญคือ สถานที่นั้น ๆ พระองคไดทรงสราง
            เสาหินใหญไวทุกแหง บนยอดของเสาหินนั้น มีรูปสิงหยืนผงาดอยูทั้ง ๔ ทิศ ยืนหันหลังใหกันและกันที่หนาอก
            ของสิงหแตละตัวสลักรูปเสมาธรรมจักรไวทุกตัว โดยมีกงลอถึง ๒๔ กงดวยกัน และเปนสัญลักษณใหรูกันวา
            ณ สถานที่นี้มีความเกี่ยวของกับพุทธศาสนา และพระพุทธศาสนาเคยมีความมั่นคง ณ สถานที่นี้ ดังนั้น
            จึงทําใหเกิดสัญลักษณที่เรียกวา “เสาเสมาธรรมจักร” ขึ้น ซึ่งมีความหมายทั้งเสาเสมา เสาที่เปนเขตแดน
            ความมั่นคง และวงลอธรรมจักรอันหมายถึงการประกาศเผยแผหลักธรรมในพระพุทธศาสนาใหเขาถึง
            ประชาชน รวมเปน “เสาเสมาธรรมจักร” โดยกรมการศาสนาไดจําลองรูปแบบสวนหนึ่งมาเปนสัญลักษณ
            และมอบใหแกผูบําเพ็ญคุณประโยชนตอพระพุทธศาสนาในงานสัปดาหสงเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องใน
            วันวิสาขบูชาทุกป
                    สําหรับตราธรรมจักรนั้น บางทานอยากจะทราบตอไปอีกก็ไดวา บางตรามี ๔ มี ๘ มี ๑๖
            มี ๓๗ หรืออาจมีมากกวานี้ก็มีนั้น ขอเรียนวานั่นเปนเครื่องหมายที่นักปราชญทางศาสนาทานคิดคน
            หลักธรรมในทางพระพุทธศาสนายอมาใสไวเปนกงหนึ่ง ๆ ในตราธรรมจักรนั้น เชน ๔ กง อาจหมายถึง
            หลักของอริยสัจจ ๔ ก็ได ๘ กง อาจหมายถึงมรรคมีองคประกอบ ๘ ประการก็ได อาจหมายถึงมรรค ๔
            ผล ๔ ก็ได ๑๖ กง อาจหมายถึงญาณ ๑๖ ในวิปสสนากัมมัฏฐานก็ได ๒๔ กง อาจหมายถึงปจจยาการ ๑๒
            (อิทัปปจจยตา) ทั้งฝายอนุโลมและฝายปฏิโลมรวมเปน ๒๔ ก็ได ๓๗ กง อาจหมายถึง โพธิปกขิยธรรม ๓๗
            ประการก็ได หรืออาจหมายถึงอยางอื่นอีกสุดแตจะกําหนดความหมายเอาหลักธรรมที่ตนเองเลื่อมใสหรือ
            ปฏิบัติมายอเขานั่นเอง


                                                               ธงชัย สุมนจักร
                                                                 ผูเรียบเรียง
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30