Page 12 - ระเบียบกรมการศาสนา ว่าด้วยศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ พ.ศ. ๒๕๖๒
P. 12
ซึ่งมีสมณศักดิ์สุดท้ายที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้เดินทางไปดูกิจการพระพุทธศาสนาที่ประเทศพม่าและ
ศรีลังกา เห็นพระสงฆ์ในประเทศพม่าและศรีลังกาจัดระเบียบการสอนศีลธรรมแก่เด็กและเยาวชนได้ผลดีมาก
และจัดการสอนเฉพาะวันอาทิตย์ เมื่อท่านเดินทางกลับมาประเทศไทย จึงได้ปรารภถึงการสอนศีลธรรมของ
พระสงฆ์ในประเทศพม่าและศรีลังกาแก่พระเจ้าหน้าที่บริหารและพระนิสิตของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
และมีด�าริว่า “โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ สมควรจะได้จัดให้มีขึ้นในประเทศไทยบ้าง เพราะว่าเด็ก
และเยาวชนมีความสนใจในพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว ซึ่งจะทำาให้เป็นกำาลังสำาคัญของพระพุทธศาสนา
ต่อไป และยังเป็นการส่งเสริมในด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอีกประการหนึ่ง อีกทั้งเป็นการให้โอกาส
แก่เด็ก และเยาวชนได้ศึกษา และรู้จักหลักธรรมในพระพุทธศาสนาได้ถูกต้องตามสมควรแก่วัยของตน”
ประกอบกับในสมัยนั้น พระเจ้าหน้าที่และพระนิสิตของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้น�าบุตรหลาน
ของข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนทั่วไป ที่สนใจมาฟังบรรยาย ฝึกสมาธิในวันอาทิตย์ ซึ่งพากันวิ่งเล่น
บริเวณลานอโศกวัดมหาธาตุฯ มาเล่านิทานและสอนธรรมะ นอกจากนั้น ทางโรงเรียนและมหาวิทยาลัยต่างๆ
ได้อาราธนาพระสงฆ์ดังกล่าวไปสอนธรรมะ อบรมศีลธรรมแก่นักเรียนและนักศึกษาอีกด้วย ดังนั้น
พระเจ้าหน้าที่และพระนิสิตมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จึงด�าเนินการขอเสนออนุมัติต่อทางสภามหาวิทยาลัย
เพื่อเปิดสอนโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ขึ้น ได้รับอนุมัติให้เปิดทำาการสอนเมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม
พ.ศ. ๒๕๐๑ จึงนับได้ว่าเป็นโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์แห่งแรกในประเทศไทย หลังจากนั้น
ก็ได้รับความสนใจ มีการจัดตั้งขยายไปยังวัดต่างๆ ทั่วประเทศ
ต่อมา ทางราชการจึงได้พิจารณาเห็นว่า สภาพสังคมไทยก�าลังเปลี่ยนแปลงไปจากสังคม
เกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม ประชาชนส่วนใหญ่ต่างก็มุ่งแต่จะประกอบภารกิจเกี่ยวกับอาชีพ
การงานที่รัดตัว โดยไม่มีเวลาสนใจเข้าวัดปฏิบัติธรรมหรือประพฤติตนในฐานะเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี
เด็กและเยาวชนที่เกิดมาในครอบครัวชาวพุทธ จึงขาดแบบอย่างที่ดีในการประพฤติปฏิบัติตนตามหลักของ
พระพุทธศาสนา ดังนั้น หากทางราชการสนับสนุนให้วัดในฐานะที่เป็นศูนย์กลางของชุมชนได้จัดตั้งโรงเรียน
พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ขึ้น โดยเน้นให้พระสงฆ์เป็นผู้อบรมสั่งสอน ก็จะเป็นการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชน
ได้รับการอบรมปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมตั้งแต่วัยการศึกษา และได้ใช้เวลาว่างจากวันหยุดการศึกษา ได้ศึกษา
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและน�าไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจ�าวันได้ถูกต้องตามสมควรแก่วัย ทั้งยัง
เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้วัดมีบทบาทในการปฏิบัติภารกิจด้านการศึกษาสงเคราะห์และเสริมสร้าง
ความสัมพันธ์ระหว่างบ้าน วัด และโรงเรียน ให้เป็นเอกลักษณ์ของวิถีชีวิตในสังคมไทยตลอดไป
ด้วยเหตุนี้ กรมการศาสนาในฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ด้านการรับสนองงาน
การพระศาสนา โดยเฉพาะพระพุทธศาสนาที่ต้องท�านุบ�ารุงส่งเสริมเป็นพิเศษในฐานะที่เป็นศาสนาประจ�า
ชาติไทยมาตั้งแต่บรรพกาล จึงได้จัดตั้งโครงการส่งเสริมการศึกษาศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
ตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๒๐ เป็นต้นมา โดยในระยะแรกได้จัดสรรงบประมาณอุดหนุนวัดต่างๆ ที่เปิด
8 ระเบียบกรมการศาสนาว่าด้วยศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ พ.ศ. ๒๕๖๒