Page 11 - ระเบียบกรมการศาสนา ว่าด้วยศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ พ.ศ. ๒๕๖๒
P. 11
ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
ความเป็นมา
ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกที่ประเทศศรีลังกา โดยพันเอก เฮนรี สตีล ออลคอตต์ ชาวอเมริกา ซึ่งปรารถนา
จะช่วยพุทธศาสนิกชนชาวลังกาต่อสู้กับนักเผยแพร่ศาสนาคริสต์ และนโยบายเกี่ยวกับศาสนาของรัฐบาล
อาณานิคมของอังกฤษ โดยจัดตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘ เป็นช่วงระยะเวลาที่พระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา
ก�าลังอยู่ในภาวะอันตรายอย่างยิ่ง การจัดตั้งโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ของประเทศศรีลังกา
มีวัตถุประสงค์ส�าคัญ ๒ ประการ คือ ๑) เพื่อพื้นฟูพระพุทธศาสนา ๒) เพื่อต่อต้านนักเผยแพร่ศาสนาคริสต์
ที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนา โรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นมีลักษณะเป็นสถาบันอาสา คือ คณะครูและอาจารย์ท�างาน
โดยไม่มีค่าตอบแทนใดๆ มีทั้งฆราวาสและพระภิกษุ ผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษาและศาสนาซึ่งอยู่ภายใต้
การด�าเนินงานของสมาคมยุวพุทธ ปัจจุบันโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในศรีลังกาเจริญแพร่หลายมาก
มีโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์เกือบทุกหมู่บ้านและเกือบทุกวัด หลักสูตรที่ใช้เรียนมี ๔ ระดับ คือ
ระดับชั้นต้น ชั้นกลาง ชั้นปลายและชั้นสูง
การเข้ามาของโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในประเทศไทย เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ซึ่งเป็นการ
ส่งเสริมศีลธรรมในโรงเรียนเป็นหลัก เป็นช่วงระยะเวลาสงครามโลกครั้งที่ ๒ สภาพสังคมไทยขณะนั้น
ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทุกๆ ด้าน เช่น ทางด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม
โดยเฉพาะในด้านวัฒนธรรม การเข้ามาของวัฒนธรรมบางอย่างที่ขัดกับสังคมไทย ท�าให้มีความคิดเห็นว่า
ความประพฤติของเด็กไทยผิดเพี้ยนไปจากวัฒนธรรมเดิม รัฐบาลขณะนั้นเล็งเห็นถึงปัญหาความมั่นคง
ของประเทศจากลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งอาจท�าให้เด็กและเยาวชนถูกชักจูงได้ง่าย กระทรวงศึกษาธิการจึงตั้ง
คณะกรรมการแก้ไขศีลธรรมที่เสื่อมทราม พ.ศ. ๒๔๙๖-๒๕๐๐ ขึ้น เพื่อท�าหน้าที่สอดส่องดูแลความประพฤติ
ของข้าราชการ และส่งเสริมเผยแพร่พระพุทธศาสนาแก่เด็ก ทั้งในด้านการสอนและการปฏิบัติ โดยก�าหนดให้
กรมสามัญศึกษาจัดแบบไหว้สวดมนต์มาตรฐาน เพื่อให้เป็นแบบเดียวกันทุกโรงเรียนและให้การนิมนต์พระ
มาเทศน์ให้นักเรียนฟังเดือนละครั้ง โดยค�านึงถึงความเหมาะสมกับวัยของเด็ก (สุวิมล เอกอุรุ, ๒๕๔๐ : ๕๐-๕๑)
ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เริ่มจัดตั้งขึ้นครั้งแรกในประเทศศรีลังกา จากนั้นได้ขยาย
ไปยังประเทศอื่นที่มีพระภิกษุชาวลังกาไปจัดตั้ง ส�าหรับประเทศไทย ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
เริ่มก�าเนิดขึ้นเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๙๖-๒๕๐๐ โดยพระพิมลธรรม (อาจ อาสภมหาเถร) สังฆมนตรี
ว่าการองค์การปกครอง (สมัยพระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔) อธิบดีสงฆ์ (เจ้าอาวาส)
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ องค์ทุติยสภานายกมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม 7