Page 11 - E-Book พระพิธีธรรม ๒๕๕๔
P. 11
เมื่อพิจารณาตามพระวินิจฉัยนี้จะเห็นได้ว่า ได้มีการแต่งตั้ง
พระสงฆ์ปฏิบัติหน้าที่สวดในงานพระราชพิธีมาแต่โบราณกาล ทั้งยังได้มี
การเปลี่ยนแปลงพระพิธีธรรมเพื่อให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานอีกด้วย
เช่น การเพิ่มพระพิธีธรรมวัดสุทัศน์ และการเปลี่ยนแปลงพระพิธีธรรม
วัดโมลีโลกมาเป็นวัดบวรนิเวศ เป็นต้น แต่จะเรียกพระสงฆ์ที่ปฏิบัติ
หน้าที่สวดนั้นว่าอย่างไร และเริ่มมีการเรียกว่า พระพิธีธรรม แต่ครั้งใด
ยังไม่ปรากฏชัด
อนึ่ง เริง อรรถวิบูลย์ ได้กล่าวถึงจำนวนพระพิธีธรรมและ
จำนวนสำรับพระพิธีธรรมประจำพระอารามหลวงไว้ดังนี้
“...ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
พระพิธีธรรมโปรดตั้งขึ้นประจำพระอารามหลวงรวมด้วยกัน
๑๒ พระอาราม พระอารามหนึ่ง ๆ มีจำนวน ๔ รูป เรียกว่า
๑ สำรับ ได้ยินว่าวัดราชสิทธารามเป็นวัดต้นสำหรับจังหวัดธนบุรี
ฝั่งพระนคร ได้แก่ วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) เป็นวัดต้น ซึ่งวัดต้น
ทั้งสองวัดนี้ เรียกขานกันในหมู่นักสวดและนักฟังสวดทั่วไปว่า
สำรับราชครู อันมีความหมายว่าท่วงทำนองหรือกลเม็ดในการ
ร้องสวดทุกวรรคตอน ได้รักษาของเดิมซึ่งมีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา
๓
ไว้ได้ทุกประการ”
๓ เริง อรรถวิบูลย์. ๒๕๑๒. หน้า ๔๕. เล่ม ๒. อ้างถึงใน เดชา ศรีคงเมือง. ๒๕๕๘. หน้า ๙๓.
พ ร ะ พิ ธี ธ ร ร ม