Page 275 - รายงานผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้บริหารศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ๑๘ ภาคคณะสงฆ์ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓
P. 275
ครูที่จะให้ความรู้แก่เด็ก ๆ ก็ตามระดับวัย ต้องเข้าใจด้วย คือระดับเด็ก ๆ เราจะไปให้ความรู้
ระดับที่สูงเขาก็รับไม่ได้ บางเรื่องก็ต้องให้ความรู้ระดับที่เขารับได้ จนกระทั่งครูอาจารย์บางท่านสอนดี
เด็กติด คือมักจะเล่าเรื่องที่เป็นสาระให้ฟัง เรามักจะเรียกกันว่านิทาน เป็นนิทานที่ไม่ลามก ก็เล่าให้ฟัง
เด็ก ๆ ก็ชอบ นิทานสำหรับเด็ก อย่างเช่น เรื่องมโหสถชาดก เป็นต้น
ถ้าหากเป็นเด็กเล็ก เป็นวันที่หยุดการศึกษาก็มาเรียน ตอนแรกเขาอาจจะไม่อยากมา พอมา
แล้วพบเพื่อนก็ชอบ ฟังครูอาจารย์สอนก็ชอบ เลยมีการพัฒนาศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
เรื่อยมา จนปรากฏว่าในประเทศไทย มีจำนวนถึง ๓,๔๗๓ แห่ง ซึ่งเป็นที่น่าภาคภูมิใจ แสดงให้เห็นว่า
พระ เณร เป็นผู้มีบทบาทในการที่จะประสิทธิ์ประสาทความรู้แก่เด็กที่มาศึกษาที่ศูนย์ศึกษา
พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เรื่องของหลักสูตร ก็มีหลักสูตรตามที่ท่านทั้งหลายได้ทราบได้รู้อยู่แล้ว คือ
หลักสูตรตามวัย ตั้งแต่ชั้นประถม มัธยม อุดม ก็มีหลักสูตรกันไป และมีระยะเวลาเรียนตามที่กำหนดไว้
ข้อสำคัญก็คือ พระภิกษุสงฆ์ สามเณร ได้เมตตาให้ความอนุเคราะห์แก่เด็กระหว่างการไปสอนวันอาทิตย์
ต้องเริ่มจากการเสียสละ เพราะการสอนไม่เหมือนกับครูอาจารย์ของโรงเรียน ครูอาจารย์นั้น สอนมี
เงินเดือน แต่พระเณรที่ไปสอนไม่มีเงินเดือน ก็ต้องเสียสละ ที่วัดพระเชตุพน ครั้งแรก ผมต้องมีพ่อครัว
จ้างพ่อครัวมาทำอาหารเลี้ยงตอนกลางวัน ทั้งอาหารคาวหวานและเครื่องแต่งตัว มันไม่สวยเหมือนกับ
มหาจุฬาฯ วัดมหาธาตุฯ เราก็พัฒนาของเราใหม่ไม่ให้ซ้ำกับเขา ก็มีเป็นเอกลักษณ์ของเรา และตอนแรก
เด็กมาจากฐานะไม่เท่ากัน เราก็ต้องเป็นฝ่ายเสียสละ หาเจ้าทุน หาผู้ที่มีศรัทธามาช่วย จนกระทั่งเด็ก
มีการแต่งตัวเรียบร้อย ศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์นั้น จะเห็นว่าไม่แต่งตัวจนน่าเกลียด
เด็กแต่งตัวสุภาพ เรียบร้อย นี่เป็นสิ่งที่น่าอนุโมทนา น่าดีใจ
ขอให้พระเถรานุเถระ ครูบาอาจารย์ ทั้งบรรพชิต ที่เป็นกำลังในการให้ความรู้แก่เด็กที่มา
ศึกษาศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ จงคิด จงทำจิตใจให้เป็นบุญ เป็นกุศล อย่าไปคิดอย่างอื่น
เพราะการที่เราได้ทำกิจเช่นนี้ คล้ายเป็นการช่วยพระ ช่วยเณร ในการที่จะเผยแผ่พุทธศาสนา ในการที่
จะดำรงคำสอนพระพุทธเจ้าไว้ เพราะพระเณรเราก็มีข้อบังคับอยู่ ในการที่ได้สอนญาติโยมประชาชน
เช่น ญาติโยมมาที่วัด ถึงจะมีการเทศน์ให้ฟัง เดี๋ยวนี้ก็ดีขึ้น หลายวัด โดยเฉพาะในภาค ๑๕ ที่ส่งพระ
ไปสอนเด็กในโรงเรียน ถึงแม้จะไม่ใช่วันอาทิตย์ก็ตาม ก็สอนตามหลักสูตร เพราะเด็กชอบฟังพระสอน
บางทีครูอาจารย์สอนเขาก็ไม่ค่อยสนใจ บางทีก็เล่นกันบ้าง ยิ่งสอนวิชาการทางศาสนา ครูอาจารย์
บางท่านก็ชำนาญ บางท่านก็ชำนาญน้อย สอนอธิบายไม่ชัดเจน เด็กไม่เข้าใจก็ไม่อยากฟัง เรามีอุปมา
อุปไมย ก็เปรียบเทียบให้เขาเห็น เขาก็เข้าใจ ก็อยากฟังพระเณร ฟังพระ เล่านิทานบ้าง ทำให้เด็กสนใจ
ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์มีวิชาที่เป็นหลักจริง ๆ มีอยู่ ๒ วิชา คือ ประวัติ
พุทธศาสนา เพื่อให้ผู้ศึกษาได้รู้ประวัติของศาสนาพุทธที่ตนเคารพนับถือ อันนี้ก็แล้วแต่เทคนิคของ
ครูบาอาจารย์จะสอน และประการที่สองก็คือ ธรรมะ ก็สอนธรรมะให้เหมาะกับวัย ธรรมะ ก็ยังมี
ข้อขยายออกไปหลายอย่าง เช่น การฝึกหัดทำวัตร สวดมนต์ ฝึกหัดในด้านการพูด การฝึกหัดในด้าน
การดนตรี การฝึกหัดด้านศิลปะต่าง ๆ ก็มีหลายอย่างด้วยกัน ซึ่งทางมหาจุฬาฯ ท่านก็เป็นแม่แบบอยู่
มีบทบาทในการเป็นผู้นำวัดอื่น เพราะเขามีกำลัง มีบุคลากรมากพร้อมที่จะให้ความรู้แก่เด็กได้ดี
ในการช่วยกันสืบอายุพระพุทธศาสนา ส่งเสริมศาสนา
รายงานผลการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้บริหารศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ๑๘ ภาคคณะสงฆ์