Page 220 - รายงานผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้บริหารศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ๑๘ ภาคคณะสงฆ์ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓
P. 220
เจ้าคณะอำเภอสุวรรณคูหา
ท่านวัฒนธรรมท่านได้บอกว่า การส่งเสริมศีลธรรมในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
ของพวกเราตามปกติแล้ว พวกเราได้สร้าง ได้ทำอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นวันอาทิตย์ วันธรรมดา วันสำคัญ
ทางพระพุทธศาสนาประเพณี จารีต หรือประเพณีสิบสองเดือน ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่ที่โบราณได้กล่าว
ไว้ เราเป็นจุดสำคัญในการที่จะให้มีการส่งเสริมศีลธรรม จริยธรรม วัฒนธรรม ประเพณี อารยะธรรม
ด้วย ดังนั้น พวกเราเป็นผู้บริหารศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้
ก็ปรากฏว่า มีศูนย์ต้นแบบได้มาบรรยายหัวข้อต่าง ๆ ให้เราได้รับรู้เรียบร้อย เป็นสถานการณ์ในการที่เรา
จะจัดทำในการส่งเสริมให้ศาสนิกชน ให้พุทธบริษัท ได้เข้าใจว่า การกระทำ การปฏิบัติ และการอาศัย
ซึ่งกันและกัน เป็นอย่างไร ดังนั้นวัดโพธิ์ทองจึงได้ริเริ่มบอกว่า การที่ตั้งศูนย์ฯมา ก็ยังไม่รู้ว่าปีใด ไม่ได้ลง
พ.ศ. ไว้ รู้แต่ว่าในหนองบัวลำภูมี ๙ วัดในสมัยนั้น ผมได้ทำมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ มีการะดมนักเรียน
ลูกหลานในบ้าน เข้ามาร่วม ศึกษาเล่าเรียน ตั้งแต่ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีสื่อต่าง ๆ เช่นโทรทัศน์ เพราะเป็น
ที่กันดารการคมนาคมไม่สะดวกเท่าที่ควร แต่ปัจจุบันมีความสะดวกแล้ว
ปี พ.ศ. ๒๕๒๕-๒๕๓๖ ผมเป็นทั้งผู้อำนวยการศูนย์ฯ เป็นทั้งผู้สอนธรรมศึกษาตรี โท เอก
เรียนไปเรื่อย สอนไปเรื่อย นักเรียนสอบได้หมด ไม่ยากเหมือนทุกวันนี้ ทุกวันนี้ตกเยอะเหลือเกิน
ผมใช้นโยบาย คือการขยาย การส่งเสริม จะนิมนต์พระที่มีคุณวุฒินักธรรมชั้นเอกขึ้นไป
สมัครเป็นครูสอนศีลธรรมในโรงเรียน แล้วในตำบลของผมปรากฏว่ามีทุกโรงเรียน สอนในเวลาเรียน
แต่เดี๋ยวนี้เอามาไม่ได้ เพราะสถานที่คับแคบ มีแค่ ๗ ห้อง เสา ๔๐ ต้นเท่านั้น สถานที่ไม่พอ เลยอาศัย
สถานที่โรงเรียน ไปประสานทางโรงเรียน ซึ่งบังเอิญ สำนักงานวัฒนธรรม สำนักงานพระพุทธศาสนาก็ดี
ได้ส่งเสริม ถือว่าเป็นการประสานงานทั้งสามทางเลย
ปรากฏว่ามีศูนย์ฯ ละ ๒๐๐-๓๐๐ คน มีธรรมศึกษา ตรีโท เอก ตั้งพันกว่าแล้ว เราให้มี
การสอนศีลธรรมในโรงเรียน ก่อนสอบต้องติวให้เขา เมื่อเป็นวันพระ ก็จะนำนักเรียนไปจำศีล ในวัด
การที่มีงบประมาณน้อย เราสามารถเวียนกันจัดเป็นศูนย์ ๆ ก็น่าจะทำได้ และศูนย์ฯ สามารถ
จัดกิจกรรมอื่น ๆ ที่เด็กสนใจได้ เช่น ประกวดร้องเพลง ประกวดสรภัญญะ กิจกรรมการทำมาหากิน
ศูนย์ฯสามารถทำได้แทนวัด แม้ว่างบประมาณจากทางราชการมีนิดหน่อย มาเติมให้ท่าน เพื่อให้ทั่ว
ในท้องที่ที่ท่านรับผิดชอบ อนาคตหากบ้านเมืองสงบสุข งบประมาณคงมากกว่านี้
การดำเนินการจากรากหญ้า เหมือนน้ำที่ผุดจากดิน งบประมาณจากรัฐเปรียบเหมือนฝน
จากฟ้า ไม่ยั่งยืน แต่น้ำใจของท่าน จะทำให้การดำเนินงานของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
ยั่งยืนสืบไป
นับว่าการอภิปรายในครั้งนี้ ได้แนวคิดหลากหลาย การทำให้ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์ มีองค์ประกอบดังนี้คือ ผู้บริหารศูนย์ฯ ต้องเป็นผู้รอบรู้และเสียสละ ทรัพยากรที่จะมาศูนย์
ต้องรู้วิธีการที่จะเอามา มาจากประชาชน อุบาสก อุบาสิกา ต้องรู้ที่ไปที่มา จึงจะได้เอามาเข้าร่วม
ในกิจกรรมของศูนย์เรานั้น ที่สำคัญคือสถานที่ ไม่จำเป็นต้องใหญ่โตมโหฬาร ที่ไหนก็เป็นแหล่งเรียนรู้ได้
การบริหารและการจัดงาน ก็เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ผู้บริหารศูนย์ ต้องมีการบริหารจัดการที่ดี
สุดท้ายแต่ละปีของแต่ละศูนย์ ให้มีกิจกรรม ในการดำเนินการ จะทำในฮีตสิบสองก็ได้ เป็นกลุ่มเป็น
รายงานผลการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้บริหารศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ๑๘ ภาคคณะสงฆ์