Page 393 - มหัศจรรย์ อารามงดงาม ทั่วไทย ๒
P. 393

วัดมัชฌิมาวาส ตั้งอยู่อ�าเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา สร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย
               อายุราวประมาณ ๔๐๐ ปี สร้างโดยสีจันทร์คหบดีผู้มั่งคั่งในเมืองสงขลา ได้บริจาคเงินสร้างวัดขึ้น

               ชาวบ้านจึงเรียกว่า “วัดยายศรีจันทน์” ภายหลังมีผู้สร้างวัดขึ้นทางทิศเหนือ ๑ วัด (วัดเลียบ)
               และทางทิศใต้ ๑ วัด (วัดโพธิ์) วัดยายสีจันทน์จึงอยู่ตรงกลาง ชาวบ้านจึงเรียกว่า “วัดกลาง” ต่อมา
               เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๑ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เมื่อยังด�ารงพระอิสริยยศ

               เป็นพระเจ้าน้องนางเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ได้เสด็จเมืองสงขลา ทรงเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดมัชฌิมาวาส”
               จนกระทั่งเมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ

               ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี มีชื่อทางราชการว่า “วัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร” โดยวัดแห่งนี้มีรูปแบบ
               สถาปัตยกรรมคล้ายโบสถ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แต่มีขนาดเล็กกว่าสร้างขึ้นโดยฝีมือช่างหลวง
               ในกรมช่างสิบหมู่ ร่วมกับช่างประจ�าเมืองสงขลา

                        สิ่งส�าคัญ คือ ภาพจิตรกรรมสีฝุ่นบนผนังปูนในอุโบสถ ซึ่งเป็นฝีมือล�้าเลิศโดยช่างหลวง
               สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เป็นภาพพุทธประวัติ ทศชาติชาดก
               และเทพชุมนุม นอกจากนี้ ยังมีศาลาฤาษี ภาพจิตรกรรมเขียนด้วยสีฝุ่นบนผนังปูนรองพื้นเป็นภาพ

               ฤาษีดัดตนตามต�าราแพทย์แผนโบราณ มีบางตอนเหมือนกับภาพฤาษีดัดตนที่วัดพระเชตุพน
               วิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร แต่มีการเรียกชื่อตามภาษาท้องถิ่น ที่หน้าบันด้านในทั้งสองข้าง
               เขียนภาพเครื่องยาไทย และโต๊ะหมู่บูชาของจีน ตอนล่างเขียนตัวอักษรบรรยายตัวยาและสรรพคุณ

               ตลอดจนวิธีใช้ยาเหล่านั้น ที่ผนังด้านข้างมีภาพฤาษีดัดตนข้างละ ๒๐ ท่า รวม ๔๐ ท่า แต่ละท่า
               มีโคลงสี่สุภาพอธิบายประกอบอยู่ใต้ภาพ

                                                                                                                              แผนที่


                                                                                           มหัศจรรย์อาราม งดงามทั่วไทย เล่ม ๒     367
   388   389   390   391   392   393   394   395   396   397   398