Page 318 - มหัศจรรย์ อารามงดงาม ทั่วไทย ๒
P. 318

วัดธาตุน้อย ตั้งอยู่อ�าเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งขึ้นโดยความประสงค์

                                                   ของพระครูพิศิษฐ์อรรถการ หรือพ่อท่านคล้าย ซึ่งด�ารงต�าแหน่งเจ้าอาวาส เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐
                                                   พระเกจิอาจารย์ที่ชาวนครศรีธรรมราช และประชาชนทั่วไปให้ความเคารพและศรัทธา พ่อท่านคล้าย

                                                   ได้รับการเชื่อถือถึงความศักดิ์สิทธิ์ของวาจา พูดอย่างไรเป็นอย่างนั้น ท่านมักจะให้พรกับทุกคน
                                                   “ขอให้เป็นสุข เป็นสุข”โดยในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ พ่อท่านคล้ายได้สร้างพระเจดีย์ พระธาตุน้อย
                                                   ซึ่งจ�าลองรูปแบบมาจากพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช ภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ

                                                   ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เมื่อพ่อท่านคล้ายมรณภาพ ได้น�าสรีระสังขารของท่านบรรจุไว้ในโลงแก้ว
                                                   และตั้งอยู่ในพระเจดีย์พระธาตุน้อยเช่นกัน เชื่อกันว่าสรีระสังขารพ่อท่านคล้ายแข็งเป็นหินท�าให้เป็น
                                                   ที่เลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างมาก ประกาศตั้งวัดเมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ ปัจจุบันมีการสร้าง

                                                   รูปปั้นพ่อท่านคล้ายขนาดใหญ่ตั้งอยู่กลางลานด้านหน้าวัด จนกระทั่งได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
                                                   เมื่อวันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๒
                                                           สิ่งส�าคัญ คือ พระเจดีย์ “ธาตุน้อย” เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้เป็นพุทธบูชา รวมทั้ง

                                                   สรีระสังขาร “แข็งดั่งหิน” ของพ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ ได้ถูกบรรจุไว้ในโลงแก้วและน�ามาประดิษฐาน
                                                   อยู่ในองค์พระเจดีย์แห่งนี้ นับเป็นอนุสรณ์สถานของพ่อท่านคล้าย เพื่อพุทธศาสนิกชนมากราบสักการะ

                   แผนที่                          ขอพรเสริมสิริมงคลแก่ชีวิต



               292       มหัศจรรย์อาราม งดงามทั่วไทย เล่ม ๒
   313   314   315   316   317   318   319   320   321   322   323