Page 278 - มหัศจรรย์ อารามงดงาม ทั่วไทย ๒
P. 278
วัดคงคาราม ตั้งอยู่อ�าเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เดิมชื่อว่า “วัดกลาง” ส่วนภาษามอญ
จะเรียกว่า “เภี้ยโต้” แปลว่า “วัดกลาง” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๐ หลักฐาน
เอกสารที่เขียนขึ้นในปี พ.ศ. ๒๓๙๔ ยังคงเรียกวัดนี้ว่า “วัดกลาง” เจ้าจอมมารดากลิ่น ในรัชกาลที่ ๔
ได้รับเป็นผู้อุปถัมภ์วัด ได้ทูลเกล้าถวายวัดกลางให้เป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว จึงทรงพระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดคงคาราม” ภายในวัดมีพระอุโบสถ ซึ่งมีเจดีย์
ทรงรามัญ ๗ องค์ รายรอบ เป็นตัวแทนของพระยามอญทั้ง ๗ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ประตูทุกบาน
เป็นงานจ�าหลักไม้ฝีมือประณีต ส่วนบานหน้าต่างด้านนอกเป็นลายรดน�้า ภายในมีจิตรกรรมฝาผนัง
งานศิลปะของชาวมอญ สีของภาพเป็นสีธรรมชาติ ที่สกัดจากเปลือกไม้ และดอกไม้ในสมัยนั้น นอกจากนี้
ยังมีเรือนไทยกุฏิ ๙ ห้อง สร้างในสมัยกรุงธนบุรี มีการสลักบานหน้าต่างงดงาม ปัจจุบันเรือนไทยกุฏิ
๙ ห้อง จัดให้เป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดคงคาราม ที่รวบรวมศิลปะของมีค่าของชาวมอญตั้งแต่โบราณ
และมีเสาหงส์ (หงส์ส�าริด) สัญลักษณ์ของวัดมอญ
สิ่งส�าคัญ คือ จิตรกรรมฝาผนังที่มีอายุไม่ต�่ากว่า ๒๕๐ ปี เป็นภาพจิตรกรรมที่งดงาม
และประณีตจากฝีมือช่างชั้นสูง ซึ่งหาชมได้ยากในปัจจุบัน รวมทั้งกุฏิเรือนไทย ๙ ห้อง สร้างในสมัย
กรุงธนบุรี ซึ่งปัจจุบันได้จัดให้เป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านที่รวบรวมวัตถุเก่าแก่ไว้ให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้
แผนที่
252 มหัศจรรย์อาราม งดงามทั่วไทย เล่ม ๒