Page 245 - มหัศจรรย์ อารามงดงาม ทั่วไทย ๒
P. 245

วัดพระบรมธาตุ ตั้งอยู่อ�าเภอบ้านตาก จังหวัดตาก เดิมเป็นวัดร้าง ต่อมาราวปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์จนกระทั่ง
               ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๒ มีต�านานเกี่ยวข้องกับพระบรมธาตุ ตามต�านานพระเจ้าเลียบโลกในสมุดข่อย

               ที่พบภายในวัดที่เขียนเป็นภาษาเหนือ กล่าวว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จโปรดสัตว์ล่องมาตามล�าน�้าปิง เมื่อเสด็จมายังดอยมะหิยะกะ
               หรือมะหิยังกะในเขตเมืองตาก และทรงตรัสกับพระอานนท์ว่าสถานที่นี้เป็นสถานที่ส�าราญ ร่มรื่น หากเราตถาคตปรินิพพานแล้วให้น�าอัฐิและเกศา
               กลับมายังดอยมะหิยังกะ ภายหลังจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพาน พระอานนท์ (บางต�านานกล่าวว่าเป็นพระสาวก ๔ องค์) ได้น�าเอา

               พระบรมสารีริกธาตุ กับพระเกศา ๔ เส้น มาประดิษฐานยังดอยมะหิยังกะแห่งนี้ รวมทั้งก่อเจดีย์รูปทรงสี่เหลี่ยมและน�าพระบรมอัฐิบรรจุไว้
               ในพระเจดีย์ บางต�านานกล่าวว่าชาวบ้านได้ร่วมกันสร้างเจดีย์คลุมหลุมที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ แต่จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดี

               สันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้อาจสร้างขึ้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๘ ตรงกับสมัยสุโขทัย
                        สิ่งส�าคัญ คือ พระเจ้าทันใจ พระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน ปางมารวิชัย หน้าตัก ๓๒ นิ้ว และลงรักปิดทองค�าเปลว พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์
               ที่พุทธศาสนิกชนได้มาตั้งจิตอธิษฐาน ขออะไรก็ได้สมความปรารถนาทุกสิ่งทุกประการ นับเวลาจนปัจจุบันประมาณ ๒๐๐ กว่าปีมาแล้ว รวมทั้ง

               พิพิธภัณฑ์ซึ่งจัดสร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๒๕๔๕ ภายในจัดแสดงและเก็บรักษาพระพุทธรูปไม้ หีบธรรม ตู้ธรรม ถ้วยชามสังคโลก อาวุธโบราณ
               เงินโบราณ เครื่องใช้โบราณ และวัตถุโบราณอื่นๆ ให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ โดยวัดแห่งนี้ถือได้ว่าเป็นจุดเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวชุมชน วัฒนธรรม
               และวิถีชีวิตท้องถิ่นของชาวบ้านตากเป็นอย่างดี







                                                                                                                              แผนที่


                                                                                           มหัศจรรย์อาราม งดงามทั่วไทย เล่ม ๒     219
   240   241   242   243   244   245   246   247   248   249   250