Page 324 - มหัศจรรย์อาราม งดงาม ทั่วไทย เล่ม ๑
P. 324

วัดสังกัสรัตนคีรี ตั้งอยู่อ�าเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี เป็นวัดเก่าแก่สร้างขึ้น
                                                  เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๓ เดิมเรียกว่า “วัดเขาสะแกกรัง” ตามประวัติบันทึกว่า เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๕ - ๒๓๔๒
                                                  ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้น�าพระพุทธรูปขนาดย่อม

                                                  ที่ช�ารุดไปไว้ตามหัวเมืองต่างๆ โดยเมืองอุทัยธานีได้รับ ๓ องค์ พระพุทธรูป องค์ที่ ๑ น�ามาประดิษฐาน
                                                  ไว้ที่วัดขวิด เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่เป็นพระเนื้อทองส�าริด ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๓ ศอก
                                                  สร้างในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ ฝีมือช่างสุโขทัยยุค ๒ มีส่วนเศียรกับส่วนองค์พระเป็นคนละองค์

                                                  เข้าใจว่าคงซ่อมเป็นองค์เดียวกันก่อนน�ามาไว้ที่เมืองอุทัยธานี ต่อมาเมื่อยุบวัดขวิดไปรวมกับวัดทุ่งแก้ว
                                                  จึงได้ย้ายพระพุทธรูปองค์นี้ไปไว้ที่วัดแห่งนี้ และได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในพระเศียร

                                                  พร้อมกับถวายนามว่า พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ นอกจากนี้ ยังมีงานประเพณี ตักบาตรเทโว ในวันแรม
                                                  ๑ ค�่า เดือน ๑๑ ของทุกปี ณ บริเวณลานวัดสังกัสรัตนคีรี โดยสมมุติยอดเขาสะแกกรังเป็นสวรรค์
                                                  ชั้นดาวดึงส์ที่พระพุทธเจ้าเสด็จฯ ขึ้นไปจ�าพรรษาเทศน์โปรดพระพุทธมารดา ซึ่งเป็นประเพณี

                                                  ที่ชาวอุทัยธานีให้ความส�าคัญมาก
                                                           สิ่งส�าคัญ คือ พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ เป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยที่อัญเชิญมาจาก

                                                  เมืองสุโขทัยในสมัยรัชกาลที่ ๑ - ๓ และอนุสาวรีย์สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ประดิษฐานอยู่ใน
                                                  พลับพลาจตุรมุขบนยอดเขาสะแกกรัง นอกจากนี้ ยังมีประเพณีตักบาตรเทโวในวันแรม ๑ ค�่า เดือน ๑๑
                                                  ของทุกปี ถือเป็นประเพณีส�าคัญของจังหวัด วันดังกล่าวจะมีพระสงฆ์กว่า ๕๐๐ รูป เดินลงมา

                                                  ตามบันได ๔๔๙ ขั้น จากมณฑปยอดเขาสะแกกรัง
                   แผนที่



               298       มหัศจรรย์อาราม งดงามทั่วไทย เล่ม ๑
   319   320   321   322   323   324   325   326   327   328   329