Page 218 - มหัศจรรย์อาราม งดงาม ทั่วไทย เล่ม ๑
P. 218

วัดตาปะขาวหาย ตั้งอยู่อ�าเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก เดิมเรียกว่า “วัดเตาไห” เหตุเพราะเป็นหมู่บ้านที่ปั้นเตาและไห บ้างเรียกว่า
               “วัดชีปะขาวหาย” หรือ “วัดชีผ้าขาวหาย” ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าก่อสร้างและตั้งวัดขึ้นในสมัยใด แต่จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์

               ทั้งโบราณสถาน และปูชนียวัตถุที่ปรากฏอยู่ คือ เตาสมัยโบราณ จึงสันนิษฐานได้ว่าวัดแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยตอนต้น และได้รับพระราชทาน
               วิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๐๐ มีต�านานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพระพุทธชินราชในพงศาวดารเหนือ กล่าวไว้ว่า “...เมื่อครั้งพญาลิไททรงสร้าง

               วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ และมีการหล่อพระประธาน คือ พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระพุทธศาสดา ได้เททองหล่อพระถึง ๓ ครั้ง
               ทองที่เทหล่อก็ไม่รวมตัวกันเป็นองค์พระ ร้อนถึงเทวดาต้องลงมาช่วย โดยแปลงเป็นตาปะขาวมาช่วยสร้างพระพุทธชินราชในครั้งนั้นให้ส�าเร็จ
               เมื่อเทหล่อได้ส�าเร็จตาปะขาวหายวับไป พญาลิไทจึงทรงโปรดให้สร้างวัดไว้ตรงบริเวณนั้น ชาวบ้านจึงเรียกชื่อวัดว่า “วัดตาปะขาวหาย...”

                        สิ่งส�าคัญ คือ โบราณสถานหลายยุคสมัย ได้แก่ เตาเผาสมัยสุโขทัย อุโบสถ วิหาร สมัยอยุธยาตอนปลาย มณฑปสมัยรัตนโกสินทร์
               พระเครื่องสกุลพระพิมพ์หลวงพ่อโต  พิมพ์เนื้อดินละเอียดปางสมาธิ  ประทับนั่งบนฐานบัวคว�่าบัวหงายสองชั้น  รวมทั้งพระปิดตา

               พิมพ์สามเหลี่ยมเนื้อผงและเนื้อโลหะ นอกจากนี้ ยังมีต้นไทร อายุกว่า ๑๐๐ ปี มีกิ่งก้านสาขา สวยงามแปลกตา นับเป็นมรดกทางพุทธศิลป์และ
               ประวัติศาสตร์ที่สืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้










                   แผนที่



               192       มหัศจรรย์อาราม งดงามทั่วไทย เล่ม ๑
   213   214   215   216   217   218   219   220   221   222   223