Page 59 - ศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ สู่การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมอย่างยั่งยืน
P. 59

ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์สู่การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมอย่างยั่งยืน















































           ๓. การมีส่วนร่วมขององค์กร ภาคีเครือข่าย ในการเรียนการสอน และขับเคลื่อน ศพอ.
                   เครือข่ายพลัง “บวร” ที่มีส่วนสำคัญต่อการขับเคลื่อนการดำเนินงานของ ศพอ. ได้แก่ โรงเรียนราษฎร์
           สามัคคี ชุมชนบ้านท่าเรือ ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ปราชญ์ชุมชน อำเภอนาหว้า และเทศบาลตำบลท่าเรือ

           นำโดยพระมหาเอกฉันท์ เอกคฺคจิตฺโต ผอ.ศพอ. เป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการชุมชนตามหลักปรัชญา
           ของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักคุณธรรม  ๕  ประการ  มาเป็นหลักคิดในการสร้างความสามัคคีและร่วมกัน
           บูรณาการกิจกรรมต่างๆ กับทุกภาคส่วน ทำให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง

           ๔. ผลิตภัณฑ์/สินค้าทางวัฒนธรรม การแสดงศิลปวัฒนธรรม ประเพณีที่โดดเด่นของ ศพอ.
                   ชุมชนบ้านท่าเรือ  เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ชนเผ่าไทยอีสาน  มีมรดกภูมิปัญญาที่โดดเด่นสืบทอดจาก
           บรรพบุรุษ  คือ  การผลิตเครื่องดนตรีพื้นเมืองอีสาน  การทอผ้าไหม  การแสดงเซิ้งไทยอีสาน  อาหาร
           และภาษาถิ่น  ที่เป็นแหล่งผลิตที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ  และเป็นแหล่งทอผ้าไหมที่ฝีมือขึ้นชื่อระดับประเทศ
           โดยศูนย์หัตถกรรมทอผ้าไหมมัดหมี่บ้านท่าเรือ  ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัด  ประเพณีที่โดดเด่น  คือ  ประเพณี
           บุญสวนแตง  สินค้าทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น  คือ  กิจกรรม  “เที่ยวชุมชน  ยลวิถี”  บ้านท่าเรือ  เครื่องดนตรี

           พื้นเมือง  ของที่ระลึกแคน  -  โหวตจิ๋ว  โดย  ศพอ.  วัดศรีโพธิ์ชัยได้ร่วมกับชุมชนในการนำ  Soft  Power
           “ชนเผ่าไทยอีสาน” มายกระดับเป็นชุมชนคุณธรรม “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ของกระทรวงวัฒนธรรม




                                                    51
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64