Page 48 - ตามรอยเส้นทางธรรมแห่งศรัทธา จาริกเส้นทางบุญในมิติทางศาสนา
P. 48

๙.วัดโอกาสศรีบัวบาน                                 วัดโอกาสหรือวัดโอกาสศรีบัวบาน เป็นวัดเก่าแก่คู่เมืองนครพนม

                                                    และเป็นที่ประดิษฐานพระติ้วและพระเทียมพระพุทธรูปแฝดอันศักดิ์สิทธิ์
                                                    ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวนครพนมมาแต่โบราณ  ภายในโบสถ์
                                                    มีภาพจิตรกรรมสวยงามน่าชมด้วยสิ่งน่าสนใจภายในวัด ได้แก่ พระติ้ว

                                                    และพระเทียม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยสององค์ที่มีพุทธลักษณะเหมือนกัน
                                                    ทุกประการ แกะสลักจากไม้ตะเคียน ขนาดหน้าตักกว้าง ๓๙ ซม. สูง ๖๐ ซม.

                                                    ประดิษฐานในบุษบกทรงปราสาทที่ตั้งอยู่ด้านหน้าพระประธานในโบสถ์
                                                    กล่าวกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีมาแต่ครั้งอาณาจักรศรีโคตรบูรก�าลังรุ่งเรือง
                                                    ในสมัยพระเจ้าศรีโคตรบูรหลวง พระองค์ทรงให้ขุดเรือโกลนเพื่อใช้เป็น

                                                    เรือพระที่นั่ง เมื่อขุดเรือส�าเร็จแล้ว จึงเคลื่อนเรือลงสู่แม่น�้าโขง โดยใช้
                                                    เครื่องทุ่นแรงที่เป็นไม้หมอนกลมเล็กจ�านวนหลายท่อน เชื่อกันว่าหมอนไม้ติ้ว
                                                    นั้นเป็นพญาไม้ซึ่งมีเทวดาสิงสถิตอยู่ พระเจ้าศรีโคตรบูรหลวงจึงโปรดให้

                                                    น�าไปแกะสลักเป็นพระติ้ว แล้วจัดพิธีสมโภชเป็นพระมิ่งเมืองนครศรีโคตรบูร
                                                    ต่อมาในสมัยพระเจ้าขัติยวงศาบุตรามหาราช ได้เกิดไฟไหม้ในหอพระติ้ว
                                                    ชาวบ้านไม่สามารถน�าพระติ้วออกมาได้ จึงคิดกันว่าพระติ้วคงจะไหม้

                                                    ไปในกองเพลิง พระเจ้าขัติยวงศาฯ จึงโปรดให้น�าไม้มงคลมาแกะสลัก
                                                    เป็นพระพุทธรูปขึ้นแทนพระติ้ว ในเวลาต่อมาได้พบพระติ้วองค์เดิม

                                                    ในล�าน�้าโขง  พระเจ้าขัติยวงศาฯ  จึงทรงอัญเชิญมาประดิษฐานคู่
                                                    กับพระติ้วองค์ใหม่ซึ่งมีพระนามใหม่ว่าพระเทียมนับแต่นั้นมา









       ตามรอยเส้นทางธรรมแห่งศรัทธา จาริกเส้นทางบุญในมิติทางศาสนา ๓๙
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53