Page 29 - ตามรอยเส้นทางธรรมแห่งศรัทธา จาริกเส้นทางบุญในมิติทางศาสนา
P. 29

นอกจากนี้ในบริเวณพื้นที่อ�าเภอสิชลปัจจุบันยังมีร่องรอย

                                                       โบราณสถาน  และโบราณวัตถุเกี่ยวเนื่องในศาสนาพราหมณ์  ซึ่งมี
                                                       อายุเก่าแก่ที่สุดในนครศรีธรรมราช เช่น พระพุทธรูปส�าริด ศิลปะ
                                                       แบบอมราวดีของอินเดีย และเศียรพระพุทธรูปศิลปะแบบคุปตะอินเดีย

                                                       เป็นต้น  จากหลักฐานเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า  นครศรีธรรมราช
                                                       ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมมาจากอินเดียอย่างมาก ทั้งในด้านศาสนา
                                                       ความเชื่อ อักษร ภาษา ประเพณี และการปกครอง จนกลายเป็น

                                                       พื้นฐานวัฒนธรรมนครศรีธรรมราชมาถึงปัจจุบันนี้
                                                              พุทธศตวรรษที่  ๑๗-๑๙  เป็นช่วงที่นครศรีธรรมราช

                                                       มีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด  ภายใต้การปกครองของราชวงศ์
                                                       ศรีธรรมาโศกราช  ปัจจัยส�าคัญที่ก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง
                                                       น่าจะเนื่องมาจากการเป็นสถานีการค้าส�าคัญของคาบสมุทรไทย

                                                       เป็นจุดพักถ่าย  ซื้อสินค้าระหว่างตะวันออกกับตะวันตกที่ดีที่สุด
                                                       ในเวลานั้น  ประกอบกับบริเวณหาดทรายแก้วอันเป็นศูนย์กลาง

                                                       ของชุมชน เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธองค์
                                                       ความศรัทธาและความเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนาจึงเป็นปัจจัยชักน�า
                                                       ให้ผู้คนจากทุกสารทิศในภาคใต้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในนครศรีธรรมราช

                                                       อย่างหนาแน่นในราว พ.ศ. ๑๗๐๐ เศษ ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช
                                                       ก็สามารถจัดการปกครองหัวเมืองรายรอบได้ส�าเร็จถึง  ๑๒  เมือง
                                                       เรียกว่าเมืองสิบสองนักษัตร










































                                                        ตามรอยเส้นทางธรรมแห่งศรัทธา จาริกเส้นทางบุญในมิติทางศาสนา ๒๐
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34