Page 4 - [E-Book] วันศาสนูปถัมภ์ พ.ศ. ๒๕๖๐
P. 4
ค�ำน�ำ
หน่วยงานที่สนองงานสถาบันพระมหากษัตริย์ด้านการศาสนาแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นต้นมา
มีชื่อว่า หมื่นราชสังฆการี บ้าง กรมสังฆการี บ้าง กรมธรรมการ บ้าง ซึ่งเดิมมีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหาร
การปกครองของพระพุทธศาสนาเป็นหลัก เพราะเป็นศาสนาที่คนไทยส่วนใหญ่เคารพนับถือ
ครั้นต่อมา เมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๔๘๔ ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุง
กระทรวง ทบวง กรม จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น “กรมการศาสนา” แต่นั้นมา โดยมีภารกิจในการสนองงาน
สถาบันพระมหากษัตริย์และทางราชการเกี่ยวกับศาสนา รวมทั้งพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของคน
ในสังคม แต่เนื่องจากประเทศไทยมีความหลากหลายด้านศาสนาและวัฒนธรรม พสกนิกร
มีความหลากหลายในการถือศาสนา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์ให้ความเสมอภาค
ในการถือศาสนา ตลอดทั้งการส่งเสริม สนับสนุนการศาสนาให้มีความเท่าเทียม ซึ่งจ�าเป็นจะต้อง
มีหน่วยงานของรัฐเข้ามารับรองศาสนาอย่างเป็นทางการ จึงมอบภารกิจให้กรมการศาสนา
สนองงานด้านการศาสนาทั้ง ๕ ศาสนา คือ ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาซิกข์ ซึ่งกรมการศาสนาได้ท�าหน้าที่สนองงานด้านการศาสนา
เกิดความเรียบร้อยมาตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ กรมการศาสนาพร้อมด้วยผู้น�าศาสนาที่ทางราชการรับรองทั้ง ๕ ศาสนา
ได้มีความเห็นพ้องกันว่า สังคมไทยเป็นสังคมที่มีศาสนาเป็นหลักในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม
ของคนในสังคม และความดีของศาสนิกชนที่ส�าคัญ คือ ความกตัญญู โดยที่ศาสนาในประเทศไทย
ที่มีความยั่งยืนในสังคมพหุนิยมก็เนื่องจากการได้รับการท�านุบ�ารุง สนับสนุน ส่งเสริม จากสถาบัน
พระมหากษัตริย์และบรรพชนที่เห็นความส�าคัญและได้สืบทอดมาโดยไม่ขาดสาย เห็นควรที่จะได้
มีการแสดงออกซึ่งความกตัญญูกตเวทีให้เป็นที่ประจักษ์ จึงก�าหนดวันที่ ๒๐ สิงหาคมของทุกปี
จัดกิจกรรม และให้ใช้ชื่องานว่า “วันศาสนูปถัมภ์”
ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ปีที่ ๕๔ ของการจัดงาน “วันศาสนูปถัมภ์” และเป็นปีที่ ๗๖ ของชื่อ
“กรมการศาสนา” ในการจัดงานในปีนี้ กรมการศาสนาได้จัดพิมพ์หนังสือ “วันศาสนูปถัมภ์
พ.ศ. ๒๕๖๐” เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สู่สาธารณชน ซึ่งมีเนื้อหาประกอบด้วย วันส�าคัญ
และเทศกาลทางศาสนา ๕ ศาสนาของศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาซิกข์ ความเป็นมาแห่งศาสนูปถัมภ์ และกิจกรรมที่ส�าคัญ
ของกรมการศาสนาในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
หนังสือเล่มนี้จักอ�านวยประโยชน์ให้ศาสนิกชนได้รับทราบถึงพระราชจริยวัตรของ
สถาบันพระมหากษัตริย์เกี่ยวกับศาสนา ตลอดจนเข้าใจบทบาทภารกิจของกรมการศาสนา
ในการสนองงานสถาบันพระมหากษัตริย์ ศาสนา และประเทศชาติ ก่อให้เกิดสังคมคุณธรรม
ส่งผลให้ประเทศชาติมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนสืบไป
(นายมานัส ทารัตน์ใจ)
อธิบดีกรมการศาสนา