Page 71 - รายงานผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้บริหารศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ๑๘ ภาคคณะสงฆ์ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓
P. 71

กพร. จะเป็นผู้คุมตัวชี้วัด สำหรับการขับเคลื่อน กพร. จะเป็นกรอบในการดำเนินงานให้ว่า จะทำอย่างไร
             จะพัฒนาไปอย่างไรเขามีการประเมินอย่างสม่ำเสมอ ในการสรุปประเด็นต่าง ๆ ที่แต่ละกลุ่มได้ดำเนิน

             งานในวันทที่ผ่านมา ความคิดเห็นของแต่ละกลุ่มจะคล้าย ๆ กัน คือ ไม่แตกต่างกันมากนัก เช่น
             
        กลุ่มที่ ๑ จังหวัดมุกดาหาร ความคิดเห็นของกลุ่มนี้ ประการแรก คือ ๑. สื่อที่ต้องใช้คือ
             หนังสือหนังสือธรรมศึกษาตรี  โท เอก และหนังสือเสริมความรู้ทั่วไป  เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
             ๒. คือจากธรรมคติที่มีอยู่ภายในวัด และสถานที่ต่าง ๆ ๓. คือสื่อที่มาจาก ซี ดี และสื่อมาจากการเรียนรู้

             ต่าง ๆ สุดท้ายที่สำคัญก็คือ สื่อที่มาจากตัวผู้เรียนเองคือนักเรียนของเรา ประการที่ ๒ กิจกรรมของ
             ศูนย์ในด้านการส่งเสริมด้านศีลธรรม มีกิจกรรมก่อนเข้าเรียนสวดมนต์ไหว้พระ เจริญจิตภาวนา กิจกรรม
             วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา กิจกรรมวันสำคัญในประเทศไทย และกิจกรรมฮีตสิบสอง คลองสิบสี่
             สำคัญที่สุดก็คือการส่งเสริมศีลธรรมที่ดีที่สุดก็คือ การแสดงตนเป็นพุทธมามะกะ การเข้าค่ายจัด

             หการอบรมต่าง ๆ ส่วนการแสวงหาความร่วมมือจากชุมชนให้มีส่วนร่วมกันกับศูนย์ ศูนย์การเรียนรู้
             พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ก็คือ
                      ๑. จัดให้มีการประชุมปรึกษาหารือกับผู้ปกครอง หรือว่าผู้นำของท้องถิ่น หรือว่าผู้นำ
             ชุมชนนั้น ๆ

                      ๒. ให้เด็กเป็นศูนย์กลาง ที่จะดึงผู้ปกครอง เข้ามามีส่วนร่วม และทุกครั้งที่ผู้ปกครองมา
             ร่วมปรึกษาหารือก็ต้องให้ความสำคัญกับผู้ปกครอง คือเราเชิญเขามาแล้วต้องให้ความสำคัญ
                      ๓. เป็นวัฒนธรรมประเพณีให้วัฒนธรรมประเพณีของเราไม่ว่าจะเป็นฮีตสิบสิง คลองสิบสี่
             เราจะเน้นวัฒนธรรมเป็นส่วนมาก การที่เราเราจะดึงชุมชนไม่ว่าจะเป็นผู้นำฝ่ายปกครอง ไม่ว่าจะเป็น

             กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต. หรือเทศบาล เพราะคิดว่างบประมาณจะมาจากท้องถิ่น เราจะต้องให้ อบต.
             เข้ามามีส่วนร่วม นายก อบต.เข้ามามีส่วนร่วมกับหมู่บ้านหรือว่าชุมชน
             
        กลุ่มที่ ๒ จังหวัดอุบลราชธานี สื่อการเรียนการสอนต่าง ๆ หนังสือทำวัตรสวดมนต์ ป้ายคติ
             คำสอน มุมธรรมะต่างๆ หรือสื่อสมัยใหม่ก็ดี น่าจะนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้บ้าง กิจกรรมที่สำคัญ

             ก็กิจกรรม คือมีการสวดมนต์ไหว้พระ ส่งเสริมการบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและวัด ทำให้
             ศูนย์สะอาดและน่าอยู่ สถานที่ก็มีส่วนสำคัญ ถ้าสถานที่สะอาดร่มรื่น ชุมชนก็อยากเข้ามามีส่วนร่วม
             ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำบุญ แล้วก็ส่งเสริมด้านกีฬาต่าง ๆ จัดกีฬาพื้นบ้านภายในวัด
             หรือกีฬาอื่น ๆ มีโครงการต่าง ๆ โครงการอบรมธรรมะ เข้าค่ายคุณธรรม หรือโครงการธรรมทัศนาจร

             ท่านจะพาเด็กไปศึกษาดูงานนอกสถานที่ก็ได้ การประชาสัมพันธ์ทางวิทยุชุมชน ทาง สวท. การออกข่าว
             เช่น ว่ามีการเปิดภาคเรียนใหม่ มีการรับสมัคร มีการสอบ ประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนเขาเข้ามา จัดประชุม
             ทำความเข้าใจกับผู้นำบ่อย ๆ จัดเป็นประจำ ส่วนข้อสุดท้ายให้เด็กมีส่วนร่วมกับกิจกรรมของชุมชน
             ของการจัดงานทางวิชาการ เช่น ให้เขาเป็นมัคคุเทศก์น้อย เป็นมัคนายก อาราธนาศีล อาราธนาธรรม

             มีภาพพุทธประวัติ มีภาพกิจกรรมฝาผนังให้เด็กเหล่านี้แสดงออก
             
        กลุ่มที่ ๓ จังหวัดอำนาจเจริญ และ กลุ่มที่ ๔ จังหวัดนครพนม ความคิดก็คล้าย ๆ กัน คือ
             สื่อการเรียนการสอนส่วนใหญ่ใช้การพูดบรรยาย ประกอบสื่อ ใช้เอกสารประกอบใบงานให้นักเรียน
             ทำกิจกรรม ใช้วีดิโอ โปรเจกเตอร์ ให้เด็กได้เห็นแล้วก็จะมีใบงานให้เด็กได้มีส่วนร่วม แจกใบงานกิจกรรม



                               รายงานผลการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้บริหารศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ๑๘ ภาคคณะสงฆ์
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76