Page 260 - รายงานผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้บริหารศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ๑๘ ภาคคณะสงฆ์ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓
P. 260

พระครูพิพิธสารคุณ
           ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดบ้านกะทิง จังหวัดบุรีรัมย์
                    สรุปประเด็นการนำเสนอ ดังนี้

                    ๑. พันธกิจ ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดบ้านกะทิง มีการสอนให้เด็กเข้าวัด
           แต่เยาว์วัย ฝึกครูให้เป็นผู้เสียสละ อุดมคติ ศาสนพิธี เน้นหลักธรรมค้ำพุทธศาสนา สอนหลักสูตร
           ทั้งคุณธรรมจริยธรรม วิชาการ วิชาคติธรรม วิชาเลือก ทดสอบด้านนามธรรม ฝึกตนเองให้มีหลักธรรม
           เป็นคนดีของพ่อแม่ของครูอาจารย์ เป็นคนดีของสังคม

                    ๒. การเรียนการสอน ได้ดำเนินการเรียนนอกจากธรรมศึกษา ตรี โท เอก หลักคุณธรรม
           จริยธรรม แต่เสริมด้วยการเรียนการสอนที่เป็นอาชีพ ด้านศิลปะ ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น อาทิ การเย็บปัก
           ถักร้อย การผลิตสมุนไพร การทำผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ครัวเรือน การทำปุ๋ยชีวภาพ
                    ๓. กิจกรรมของศูนย์ฯ มีการฝึกสมาทานศีล เข้าอุโบสถ การเวียนเทียน ๓ รอบ มีการสอน

           คุกเข่า ท่าเทพบุตร ท่าเทพธิดา ฟังเทศน์ฟังธรรม ตักบาตร ในวันความสำคัญทางศาสนา นั่งสมาธิ
           กิจกรรมเข้าค่ายคุณธรรม ค่ายพุทธบุตร การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ ทำความสะอาดวัด มีการมอบ
           เกียรติบัตรนักเรียนดี มีน้ำใจ
                    ๔. การบริหารจัดการศูนย์ฯ เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน หน่วยงานราชการ หน่วยงาน

           เอกชนและประชาชน ผู้เรียน ในท้องถิ่น

           พระครูกัลยาณธรรมโฆษ
           ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดโมฬีวงษา จังหวัดสุรินทร์

                    สรุปประเด็นการนำเสนอ ดังนี้
                    ๑. การบูรณาการ คือ เป็นการบูรณาการศาสนากับการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยของวัด
           เป็นการนำพุทธศาสนาเข้าสู่กระบวนการทางการศึกษา  โดยสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชุมชน
           ตามแนวคิดหรือหลัก “บ ว ร” คือ บ้าน วัด โรงเรียน และชุมชน และการบูรณาการศาสนา ศิลปะ

           วัฒนธรรม การศึกษา ภูมิปัญญาท้องถิ่น เน้นความสัมพันธ์ในลักษณะพึ่งพาซึ่งกันและกัน การสงเคราะห์
           เกื้อกูลกัน การมีส่วนร่วม การสร้างความร่วมมือและพหุภาคี
                    ๒. รูปแบบกิจกรรม ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน แบ่งแยก ดังนี้
                      ๒.๑  การจัดสภาพแวดล้อมของวัด ให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ โดยใช้สื่อธรรมชาติ บริเวณวัด

           ความสงบ ความสะอาด ร่มรื่น โดยการจัดภูมิทัศน์ให้สวยงาม
                      ๒.๒  สื่อการเรียนการสอน ได้ดำเนินการ ทั้งสื่อธรรมชาติ ได้แก่ ภูมิทัศน์ในท้องถิ่น
           สภาพแวดล้อมในท้องถิ่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศาสนสถานและศาสนศิลป์ สื่อเทคโนโลยี ได้แก่
           คอมพิวเตอร์ โปสเตอร์ วิทยุ โทรทัศน์ เว็บไซต์ ซีดีรอม เป็นต้น







                             รายงานผลการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้บริหารศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ๑๘ ภาคคณะสงฆ์
   255   256   257   258   259   260   261   262   263   264   265